10 พฤษภาคม 2558

⑮ サ変動詞 เกี่ยวกับเรื่องกินๆ :D

สวัสดีค่ะทุกคน ^^
และแล้วบล็อกสุดท้ายของภาคเรียนนี้ก็มาถึงแล้วนะคะ
ถือเป็นบล็อกความรู้ลำดับที่ 15 และเป็นบล็อกที่ 20 จากบล็อกทั้งหมด~~
ต่อจากนี้ต้องเหงาแน่เลย (>__<)

และก็เพราะว่าเป็นสุดท้ายก็ที่อาจารย์จะตรวจ เราเลยคิดค่อนข้างหนักเหมือนกันว่าจะอัพเรื่องอะไรดี
แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจอัพเรื่องพื้นฐานเลย เพื่อไขข้อสงสัยและเพิ่มความรู้ให้ตัวเอง (ถ้าเป็นประโยชน์ต่อทุกคนด้วยจะดีใจมากเลยค่าา ^^)

ส่งท้ายวันนี้อยากจะอัพเรื่อง กินๆ ค่ะ!
ใช่แล้วค่ะ พอพูดถึง 漢語動詞(サ変動詞)เรื่องนี้แล้ว เพื่อนๆคงจะนึกถึงคำว่า 食事(しょくじ)ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่เรียนกันตั้งแต่สมัยมินนะโนะนิฮงโกะบทแรกๆโน้นเลยเนอะ
แต่บทความนี้อยากจะขอแนะนำคำที่เราคิดว่าน่าสนใจมาให้ได้ทราบกันค่ะ♫

1.飲食(いんしょく)การกินและดื่ม
คำนี้ตัวเราเองรู้สึกว่าค่อนข้างจะทางการ และก็มักจะปรากฎมาพร้อมๆกับคำนามคำอื่น ทำให้หลายคนน่าจะเห็นบ่อยๆ เช่น 飲食物(いんしょくぶつ ของกินและเครื่องดื่ม)หรือ 飲食税(いんしょくぜい ภาษีกินดื่มที่ร้านอาหารเก็บ)  

2.間食(かんしょく)การกินอาหารว่างระหว่างมื้อ
แต่ก่อนเราเคยรู้จักแต่คำว่า おやつ พอหาเพิ่มเติมก็พบว่าสามารถพูดว่า 間食 กับ 間食い(あいだぐい)ได้ด้วย

3.美食(びしょく)การกินอาหารที่อร่อยๆ
ดูจากคันจิก็น่าจะเห็นกันแล้วนะคะ ถ้าแปลตรงตัวก็คือ "กินสวยๆ" 5555 แต่ความหมายจริงๆก็ประมาณนั้นเลย ถ้าทุกคนได้ยินคนบอกว่า あの人は美食家だよ!ก็แปลว่า "เขาน่ะเป็นคนพิถีพิถันในเรื่องการกิน" ค่ะ

4.飽食(ほうしょく)การกินจนพอใจ (จนแทบจะเบื่อไปเลย)
※ คำนี้เป็นภาษาเขียนค่ะ! ※
นอกจากความหมายด้านบนแล้ว ก็อาจหมายถึง การมีชีวิตที่ดี ไม่ลำบากหรือขัดสนเรื่องอาหารการกิน

5.(ばしょく)การกินเยอะ
ส่วนตัวเราว่าคำนี้น่าสนใจมากๆเลยค่ะ! คนญี่ปุ่นจะเปรียบเทียบ 'การกินในปริมาณเยอะๆ'
และที่น่าสนใจไปมากกว่านั้นก็คือมักจะใช้กับคำว่า
・牛飲馬食(ぎゅういんばしょく)= ดื่มและกินอย่างหนัก (ดื่มหนักเหมือนวัวที่ดื่มน้ำ และกินเยอะเหมือนม้าที่กินหญ้า)
・鯨飲馬食(げいいんばしょく)ดื่มและกินในปริมาณที่มากในครั้งเดียว (ดื่มน้ำเยอะเหมือนวาฬ และกินหญ้าเยอะเหมือนม้า)

ต่อมาจะเป็นหมวด คำศัพท์ที่แปลว่า 'ไม่ได้กินอาหาร' กันบ้างค่ะ
6.絶食(ぜっしょく)การอดอาหาร
คำนี้มักใช้กับการอดอาหารก่อนที่เราจะเข้ารับการรักษา/ผ่าตัดอะไรอย่างนี้ค่ะ)

7.断食(だんしょく)การอดอาหาร
คำนี้ก็แปลว่าการอดอาหารเหมือนกัน เพียงแต่ว่าจะใช้ได้ในหลายกรณีมากกว่าข้อ 6. เพราะ 断食 สามารถใช้ได้ทั้งกรณีอดอาหารเพื่อเข้ารับการตรวจรักษา และกรณีที่ทำเพื่อเหตุผลทางศาสนาด้วยค่ะ

8.欠食(けっしょく)การขาดอาหาร, ไม่ได้กินอาหาร
คำนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่ได้กินอาหารเพราะละเลยไป หรือกรณีขาดแคลนอาหารเพราะความยากจนค่ะ
ดังนั้น เราเลยอาจได้ยินคำประสมว่า 欠食児童(けっしょくじどう)ซึ่งแปลว่า เด็กขาดสารอาหารค่ะ

สุดท้ายนี้ เราขอแนะนำ 漢語動詞(サ変動詞)ที่แม้จะมีคำว่า「食」อยู่ข้างหน้า แต่กลับแทบจะไม่มีความหมายเกี่ยวกับการกินซักเท่าไรเลยค่ะ 555 นั่นก็คือ
9.(しょくげん)การไม่รักษาสัญญา, การพูดไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้, การพูดโกหก
(ถ้าจะให้แปลเป็นภาษาไทยตรงๆตัวก็น่าจะพูดได้ว่า "กลืนน้ำลายตัวเอง")

10.食傷(しょくしょう)การเบื่อหรือเพลียกับอะไรสักอย่างเพราะทำเรื่องเดิมๆ หรือกินของเดิมๆมาเป็นเวลานานค่ะ
ถ้าจะบอกว่าเบื่ออะไร เวลาเขียนก็จะอยู่ในฟอร์ม N.に(は)食傷した。เสมอค่ะ


สุดท้ายนี้ก่อนจะจากกัน  เราก็ขอทิ้งท้ายไปด้วยตัวอย่างประโยค ซึ่งเป็นการแบบฝึกหัดในตัวด้วย
ถ้ามีเวลา ลองทำกันดูนะคะ~^^
▶ เพื่อนๆว่า ประโยคข้างล่างนี้ ควรนำ サ変動詞 คำไหนจากลิสต์คำศัพท์ไปเติมดีคะ


【 飲食・間食・美食・飽食・馬食・絶食・断食・欠食・食言・食傷 】

1.ダイエットするのには、(間食)を控えたほうがいいです。
      ในการลดความอ้วนนั้น เราควรหลีกเลี่ยงการรับประทานของว่างระหว่างมื้อ
2.明日手術を受けるため、父は今日3食も(絶食)するのだ。
      เนื่องจากต้องรับการผ่าตัดพรุ่งนี้ วันนี้พ่อจึงต้องงดอาหารทั้ง 3 มื้อ
3.君子であれば、絶対()しないだろう。
       *君子(くんし)= สุภาพบุรุษ
      หากเป็นสุภาพบุรุษแล้วคงไม่มีทางไม่รักษาสัญญาแน่ๆ
4.教室では(飲食)することが禁止です。
      ห้ามรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มในห้องเรียน
5.朝食を(欠食)している児童は前年比増加した。
      หากเปรียบเทียบกับปีที่แล้วแล้ว มีเด็กที่ไม่ได้กินอาหารเช้าเพิ่มมากขึ้น
6.(美食)家である山下さんは、バンコクの素敵なカフェのことにとても詳しいそうですよ。
      ได้ยินมาว่า คุณยามาชิตะซึ่งเป็นคนพิถีพิถันเรื่องการกินรู้เรื่องคาเฟ่เก๋ๆ ในกรุงเทพฯดีนะคะ
7.イスラム教徒の義務の一つは(断食)することである。
      หน้าที่อย่างหนึ่งของศาสนิกชนของศาสนาอิสลามคือ การถือศีลอด
8.現在の日本は(飽食)の時代で、食事内容も欧米化しています。*
      ญี่ปุ่นในปัจจุบันอยู่ในยุคที่ไม่อัตคัดในเรื่องการกินอยู่ และอาหารก็เปลี่ยนแปลงเป็นแบบตะวันตกมากขึ้น
9.この話は何十回も聞いたから、もう(食傷)したよ。
      ฉันฟังเรื่องนี้มาไม่รู้กี่สิบรอบแล้ว ก็เลยเบื่อที่จะฟังแล้วล่ะ
10.あれだけ鯨飲()していたら、当然太るはずだよ。
        ถ้ากินไปมากขนาดนั้น ก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่จะอ้วน

* ข้อนี้เป็นคำศัพท์ที่เป็นภาษาเขียนมากๆ เลยเกร็งไปหมดเลย และเพราะว่ากลัวเขียนผิดเลยขออนุญาตไปหาตัวอย่างมานะคะ ตัวอย่างนี้มาจาก NINJAL ค่ะ (広報今治, 2008, 愛媛県)
(ปล.พยายามลองใช้ なつめ หาด้วยค่ะ แต่ไม่เป็นผลเลย ;__; สงสัยว่าคงใช้คนละลักษณะกัน~)

※ เฉลยแบบฝึกหัดอยู่ในวงเล็บ ส่วนคำแปลของประโยคตัวอย่างแต่ละประโยคก็อยู่ข้างล่างนะคะ ซ่อนเป็นตัวอักษรสีขาวอยู่น่ะค่ะ เพื่อนๆสามารถคลุมดำดูหลังจากลองทำแล้วได้เลยค่ะ♪


สำหรับวันนี้ รวมไปถึงภาคเรียนนี้ เราก็ต้องขอลาไปก่อนแล้ว~~
ขอบคุณทุกคนที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม และแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้กันนะคะ❤
ถ้ามีโอกาสคงได้พบกันอีกในบล็อกรวบรวมความรู้ครั้งใหม่นะคะ
ระหว่างนี้ขอสัญญาว่าจะพยายามเติบโตเป็นต้นไม้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่แข็งแกร่งขึ้นต่อไป
มาพยายามไปด้วยกันนะคะทุกคน~^^v

7 พฤษภาคม 2558

⑭ 努力・健闘・奮闘

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ~^^
ในบล็อกวันนี้ เราก็มี 漢語動詞 หรือ サ変動詞 เล็กๆน้อยๆมาฝากกันค่ะ
คำศัพท์ในครั้งนี้เป็นศัพท์ที่เราพบเห็นจากการเขียนบล็อกเรื่อง 労働・勤労 ให้ครั้งที่แล้วค่ะ
วันนี้ขอเสนอคำศัพท์เกี่ยวกับ 'ความพยายาม' ค่ะ

ถ้าพูดถึงคำว่า 'พยายาม' คำศัพท์ที่ทุกคนนึกถึงคงจะมีคำว่า 頑張る อยู่แน่เลยใช่มั๊ยล่ะ
และหลายๆคนที่คุ้นเคยกับ 漢語 ก็อาจจะนึกถึงคำว่า 努力

① 努力する(どりょくスル)
มีความหมายว่า "พยายาม หรือ ใช้แรงในการทำอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดเป้าหมาย"
คำนี้เรามักใช้กับประโยคทั่วไปในชีวิตประจำวันเลย ถ้าจะบอกว่าเป็นคนมีความพยายามก็ใช้คำว่า 努力家* ค่ะ

ส่วนที่เราคิดว่าน่าสนใจและเพิ่งรู้ตอนนี้เลยก็คือ คำว่า 努力 นี้เป็นกริยาอกรรม (自動詞) ค่ะ เพราะฉะนั้นต้องระวังให้ดีเลยนะคะ ถ้าอยากพูดว่า พยายามทำอะไร เราจะใช้คำช่วย に เสมอค่ะ เช่น 環境対策努力する พยายามรับมือกับสิ่งแวดล้อมให้ได้
อย่างไรก็ตามเราก็ไม่เห็นเขาใช้คำกริยารูปนี้เท่าไรนะคะ ที่เห็นมากคือ V.ตั้งใจと努力する หรือใช้ในลักษณะคำนามค่ะ ^^



② 健闘する(けんとうスル)
มีความหมายว่า "ต่อสู้โดยใช้กำลังทั้งหมดอย่างเต็มที่ หรือ การพยายามทำอะไรอย่างหนัก"
(แต่เมื่อใช้กริยาคำนี้แล้วจะให้นึกถึงการต่อสู้ที่ดุเดือดมากกว่าพยายามกับตัวเองแบบคำแรก)

ตัวอย่างการใช้คำนี้ก็เช่น 健闘むなしく地元チームは敗退した。ความพยายามอย่างเต็มที่ไม่เป็นผล (เพราะ)ทีมท้องถิ่นพ่ายแพ้

นอกจากนี้ คำนี้ยังนิยมนำมาใช้ในสำนวน "ขอให้โชคดี" ด้วยค่ะ โดยเขาจะพูดว่า 健闘を祈る。



③ 奮闘する(ふんとうスル)
คำนี้มี 2 ความหมายคือ "ต่อสู้โดยใช้กำลังแรง" และ "พยายามโดยใช้พละกำลังมากมาย"
ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ คำนี้เหมือนเป็นคำที่มีความหมายค่อนไปทางข้อ ① และ ② พอๆกัน แล้วแต่บริบทที่เราเลือกใช้ค่ะ
เช่น 彼は最後まで奮闘するものだ。 เขาเป็นคนที่พยายามจนถึงที่สุด

ทั้งนี้ คำว่า 奮闘 นี้ เขาก็จะมีคำที่เขานิยมใช้ด้วยกันก็คือ
・孤軍奮闘(こぐんふんとう)"การที่ต่อสู้อย่างเต็มที่โดยลำพังถึงแม้จะไม่มีกองหนุนหรือไม่มีเพื่อนมาช่วยก็ตาม" แล้วก็ยังหมายถึง "การที่ต้องเผชิญหน้า พยายามทำงานยากๆคนเดียว" ได้อีกด้วยค่ะ
・日夜奮闘する(にちやふんとうする)พยายามอย่างเต็มที่ตลอดวัน-คืน

นอกจากนี้ พอลองเปิดพจนานุกรม เราก็พบว่าเขาใช้คำว่า 奮闘 + 努力 ควบซ้อนกันด้วยล่ะค่ะ
โดยคำว่า 奮闘努力 เป็น 四文字熟語 (คำประสมคันจิสี่ตัว) ที่มีความหมายว่า การพยายามอย่างหนัก
ประโยคที่พบคือ 彼の今日の栄冠(えいかん)は奮闘努力(ふんとうどりょく)のたまものだ。(แปลว่า ชัยชนะในวันนี้ของเขาเป็นผลมาจากการพยายามอย่างหนัก)



เป็นอย่างไรบ้างคะทุกคน ^^
สำหรับเราวันนี้ เราก็ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่และวิธีการใช้คำต่างๆเหล่่านี้เพิ่มขึ้นมาค่ะ
จากตอนแรกที่เคยพูดแต่ 頑張ります เวลาอยากบอกว่าตัวเองจะพยายาม
หรือจากที่เคยพูดแต่ 頑張ってください เวลาอยากให้กำลังใจคนอื่น
ตอนนี้เราก็รู้แล้วว่าคำอื่นที่มีความหมายคล้ายๆกัน
สุดท้ายนี้ ก็ขอลาทิ้งท้ายไปด้วยคำนี้
成功のはしごに登るのには、努力が必要なのだ。
ในการปีนบันไดสู่ความสำเร็จนั้น ความพยายามเป็นสิ่งที่สำคัญ
..เพราะฉะนั้นมาพยายามกันต่อไปนะคะทุกคน... V(^o^)v



1 พฤษภาคม 2558

⑬ 労働・勤労

お疲れ様 กับข้อสอบ และสวัสดีทุกคนนะคะ (^^)
วันนี้มาพร้อมกับเกร็ดสาระเล็กๆน้อยๆในฐานะที่วันนี้เป็นวันแรงงานด้วยค่ะ

เริ่มด้วยคำถามกันก่อน 'เพื่อนๆทราบกันไหมคะว่าที่ญี่ปุ่นเขาก็มีวันแรงงานกันด้วยรึเปล่า'


จากที่ได้เสิร์ซดู เราพบว่าที่ญี่ปุ่นเรียกวันแรงงานที่อยู่เดือนพฤษภาคม (แบบที่เราหยุดกันวันนี้) ว่า メーデー (May Day) หรือ 労働者の日 ค่ะ
พอเสิร์ซไปเรื่อยๆ เลยทำให้ได้ทราบว่า ที่ญี่ปุ่นไม่ได้หยุดวันนี้เหมือนกับพวกเราหรอกค่ะ แต่จะหยุดในลักษณะ Golden Week (ซึ่งตรงกับช่วงนี้พอดี) และหยุดในวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่เรียกกันว่า 勤労感謝の日 (วันขอบคุณแรงงาน) ค่ะ

ตอนที่เจอวันว่า 勤労感謝の日 นี่ เราถึงกับงงไปเลย เกิดมาเพิ่งเคยเจอคำว่า 勤労 ก็วันนี้แหละ ;;
เพราะฉะนั้นวันนี้เราเลยขอนำเสนอ 漢語動詞(サ変動詞)เกี่ยวกับการใช้แรงงานค่ะ!

労働スル(ろうどうスル)
มีความหมายว่า ทำงานโดยใช้กำลังแรง โดยเฉพาะการทำงานเพื่อแลกกับค่าตอบแทน
คำนี้นิยมนำไปวางหน้าคำอื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้แรงงาน


คำนี้เป็นคำที่เราใช้ในความหมายโดยทั่วไป และใช้อย่างแพร่หลายมากๆเลย
เช่น 労働者(ผู้ใช้แรงงาน)労働党(พรรคแรงงาน)
นอกจากนี้ ยังมีคำที่น่าสนใจอีกด้วยคือ
   ・ 肉体労働 (にくたいろうどう;การทำงานที่ใช้แรงกาย) และ 
   ・ 精神労働 (せいしんろうどう;การทำงานที่ใช้สติปัญญา)

勤労スル(きんろうスル)
มีความหมายว่า ทำงานโดยใช้กายใจเพื่อรับเงินเดือนเช่นกัน แต่จะไม่ให้ความรู้สึกรันทดมากนัก จะให้ความรู้สึกสดใส หรือมีความหวังมากกว่าข้อ ① ค่ะ เพราะฉะนั้น คำว่า "วันขอบคุณแรงงาน" ในภาษาญี่ปุ่นจึงใช้คำว่า 勤労感謝の日 ยังไงล่ะคะ


ข้อสงสัยเกี่ยวกับ 労働者 vs 勤労者
นอกจากนี้ ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เราอาจสังเกตุเห็นเขาใช้คำว่า 労働者 ในข้อ ① เพื่อพูดถึงคนที่ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าหากเป็นคนที่ทำธุรกิจส่วนตัว หรือทำงานลงแรงในบ้านตัวเองเนี่ย จะใช้ข้อ ② 勤労 แทนค่ะ อย่างไรก็ตาม ตามพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่นแล้ว เขาไม่ได้รวม 農民 เป็นผู้ใช้แรงงานทั้งแบบ 「労働者」หรือ「勤労者」เลยค่ะ



สุดท้ายนี้ เพื่อนๆคิดว่าในแบบฝึกหัด 5 ข้อนี้
ข้อไหนควรใช้คำไหนกันบ้างเอ่ย?

1) 山田さんの一日の《 a. 労働 / b. 勤労 ×時間は平均12時間です。
    เวลาทำงานเฉลี่ยหนึ่งวันของคุณยามาดะคือ 12 ชั่วโมง
2) あと一週間で卒業しても、《 a. 労働 ×/ b. 勤労  》意欲がまだ上がらないのです。
    ถึงแม้ว่าอีกหนึ่งอาทิตย์จะเรียนจบแล้ว แต่ก็ยังไม่อยากทำงานเลย
3) 時間外《 a. 労働 / b. 勤労 × 》をしたので、お腹が空いてきた。
    เพราะทำงานนอกเวลาไป ก็เลยหิวขึ้นมาเลยล่ะ
4) 30年前に、肉体《 a. 労働 / b. 勤労 × 》として外国で働いた人は少なくないです。
    เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีคนไม่น้อยเลยที่ไปทำงานต่างประเทศในฐานะแรงงาน
5) 日本では、2060年に《 a. 労働 / b. 勤労 × 》力人口が1170万人も減少すると予測しました。
    มีการคาดคะเนว่า ในปี 2060 ญี่ปุ่นจะมีประชากรในวัยทำงานน้อยลงถึง 11,700,000 คน

เป็นไงบ้างคะ ยากหรือง่ายเกินไปหรือเปล่าเอ่ย
 ถ้าลองตอบกันดูแล้ว เพื่อนๆสามารถเปิดดูเฉลยด้านหลังช้อยส์กันได้เลย♪♪



เราก็หวังว่าบล็อกครั้งนี้จะทำให้เพื่อนๆได้ความรู้ไป
เหมือนกับเราที่ตอนนี้ ไม่ได้รู้จักแค่คำว่า 労働 เพียงแค่นั้น
แต่ยังรู้จักและทราบวิธีการใช้คำว่า 勤労 เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย☆


วันนี้คงต้องขอตัวไปก่อนแล้ว
ขอให้ทุกคนสนุกกับช่วงวันหยุดย๊าวยาว
และขอขอบคุณผู้ใช้แรงงานทุกท่านที่ช่วยลงแรงกายแรงใจทำงานให้พวกเราด้วยนะคะ (^人^)


ข้อมูลอ้างอิง:
「勤労者」と「労働者」の違い
労働力人口、2060年に1170万人減 女性活用でも…