27 มีนาคม 2558

Task :: พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (New me!) :D

สวัสดีค่ะทุกคน! วันนี้อาจจะตกใจเล็กน้อยว่า เอ๊ะ! ทำไมเรามาไว 5555
ไม่ต้องตกใจนะคะ xD วันนี้มาอัพบล็อก Story Telling อีกรอบนึงค่ะ
ครั้งนี้เป็นการเล่าเรื่องเป็นครั้งที่ 2 แล้ว
เรามาดูกันสิว่า หลังจากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ได้ดู+ฟังตัวอย่างการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่น และได้ลองเขียนเนื้อเรื่องแก้ไปแล้วอีกรอบนึง การเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นของเราจะเป็นยังไง~~


 ★ STORY TELLING 赤ちゃんと犬


《➡ New me !? ⬅》
スタート!

 私は今言語学の授業を取っているんですけど、で、最近やっているストーリーテリングがあって、で、そこのストーリーテリングね、本当に面白かったんですよ。ま、ですから、ミンちゃんにも話したいなぁって思って。(あ、はい。お願いします。)じゃ、そのストーリーがね、あのう、登頂人物が赤ちゃんと犬なんですよ。(はい。)で、あのう、その時、犬はそのまま寝ていましたよ。(犬は寝ている?はい。)その犬が寝ていて、でその隣に、近くにいるのが赤ちゃんなんです。(はい。)で、赤ちゃんは犬に気になっているみたいで、犬の背中に「馬か熊みたいに乗ってみたいなぁ」と思いまして、で、ちょっと犬のほうにどんどんどん(はい。)近づいて行っていました。(はい。)で、その時その近づいていた時に、突然犬が目を覚めていいて、赤ちゃんと目を合いました。(はい。)で、赤ちゃんはとてもビックリしましたよ。(えっーはい。)で、その時、まぁ、もちろん今合っているのが目と目ですよね。でも、赤ちゃんが乗っていたいのが犬の背中ですから。(あ、はい。そうですね。)っていうことは尻尾のほうなんじゃないですか。(はい。)ですから、尻尾のほうに行けるように、ちょっとぐるっと回して行こうかなって思います。赤ちゃんはそのままはいはいして行っていました。(はい。)で、赤ちゃんがどんどんどんどんはいはいして行って、で、その目的地に着いたら、ちょっとビックリしましたことがあります。(えっーなんですか。)それは何かわかりますか。(犬がなんとか、犬が赤ちゃんの前にいる。)そうですね。はい。ですけど、なんか、あのう、ビックリしたことは、赤ちゃんの目の前がですね、犬が現してしまいました。で、赤ちゃんもまた、あのう、戸惑っていて(はい。)とてもビックリしました。(えっー)で、赤ちゃんみたいな言葉をなんか言っちゃいました。(はい。)これで以上です。(面白いですね。)

【内省】
ข้อดี
  • ได้ลองเกริ่นถึงที่มาที่ไปของเรื่องก่อนเข้าเรื่องจริงๆ โดยใช้คำว่า「〜ですけど、・・・」คล้ายตัวอย่างบทพูดของคนญี่ปุ่นที่ได้ฟังในชั้นเรียน 
  • ได้ลองเล่าโดยนึกถึงผู้ฟังมากขึ้น ดังที่เห็นได้จากการเปิดให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การใส่คำถามเพื่อให้ผู้ฟังมี ปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเรื่อง และการใช้คำว่า「〜ね」「〜よ」ลงท้ายบางประโยค
  • ได้ใช้คำศัพท์ที่ในครั้งแรกไม่ได้ใช้ เช่น はいはいをする และぐるっと回す เป็นต้น
  • ได้พยายามใช้คำที่น่าจะเพิ่มอรรถรสให้เรื่องขึ้นได้ เช่น 突然,どんどん รวมไปถึงได้ลองใส่คำพูดซึ่งเป็นความคิดของทารก คือ 「馬か熊みたいに乗ってみたいなぁ」 เพื่อไม่ใส่เนื้อเรื่องราบเรียบ มีแต่คำบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว
  • ได้พยายามใช้รูปกริยา 〜てしまう แสดงการกริยาที่เกิดขึ้น “ไปเสียแล้ว”
  • เลี่ยงการใช้คำว่า そして ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้อง
ข้อเสีย
  • ยังระวังเรื่องมุมมองของตัวละคร (視点) ไม่มากพอ ทำให้ในช่วงแรก อาจเกิดความสับสนว่าจะยึดทารก หรือสุนัขเป็นตัวละครซึ่งมีมุมมองหลักกันแน่
  • แม้จะเตือนตัวเองว่าไม่ควรใช้ filliers คำว่า そして หรือ えっと และหันไปใช้คำ fillers อื่นแทน แต่ก็พบว่ามีคำ fillers ที่ใช้มากเกินความจำเป็น คือคำว่า  นอกจากนี้ ยังมีบางจุดที่เผลอใช้คำ fillers ซ้อนกัน เช่น で、あのう หรือ なんか、あのう ต่อจากนี้ควรมีสติระวังให้มากกว่านี้
  • เผลอใช้ V.自動詞/V.他動詞 ผิด คือ ตรงที่พูดว่า 犬が現してしまいました นั้น จริงๆแล้วควรจะพูดว่า 犬が現れてしまいました。
  • ใช้คำว่า 目的地 ซึ่งมีความหมายว่า "ที่หมาย" ในประโยคที่ว่า 赤ちゃんがどんどんどんどんはいはいして行って、その目的地に着いたら、ちょっとビックリしましたことがあります。พอมาลองฟังหลังจากแกะจะเสียงที่อัดแล้ว ก็รู้สึกว่าคำว่า 目的地 นี้ยิ่งใหญ่เกินไปในบริบท เพราะในภาพทารกแค่คลานไปที่ใกล้ๆเท่านั้นเอง เมื่อใช้ศัพท์คำนี้เลยทำให้ประโยคไม่เป็นธรรมชาติ
  • น่าเสียดายที่ตัวเองไม่พยายามใช้ 漢語動詞(サ変動詞)ซึ่งเป็นหัวข้อที่กำลังศึกษาอยู่มากเท่าทีควร (ㅠ_ㅠ) *→ ไม่น่าลืมใช้เลย ฮื้อออ~~ ครั้งหน้าต้องพยายามให้มากกว่านี้สินะ...*


สำหรับการเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นในครั้งนี้ ถ้าถามว่าพอใจมั๊ย
เรารู้สึกว่าถ้ามองในแบบสมมติฐาน input ของคุณ Krashen (クラッシェン) ที่พูดถึง「i+1」
แบบฝึกหัดเล่าเรื่องครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้คำรู้ใหม่ๆ และก็เป็นเสมือนกระจกสะท้อนให้เห็นตัวเองเลยค่ะ
(เพราะขอยอมรับว่าก่อนมาเรียนวิชานี้ก็แทบจะไม่เคย monitor ตัวเองเลย >_<)
ผลจากการทำแบบฝึกหัดครั้งนี้ทำให้เราเห็นการพัฒนาทั้งในเรื่องการใช้คำศัพท์และ fillers ในระดับหนึ่ง ก็เลยพอใจในระดับนึง แต่ใจจริงก็รู้สึกว่าจริงๆ ตัวเองน่าจะพัฒนาได้มากขึ้นกว่านี้อีกนะ
คือเหมือนกับที่พูดไปเมื่อบล็อก 内省 Story Telling ครั้งที่แล้วเลย
เรารู้สึกว่าที่สำคัญมากๆแบบขาดไม่ได้เลยคือ การมี 意識 อยู่ตลอดเวลา
..จนกว่าจะใช้ภาษาที่ถูกต้องได้จนชิน ตัวเองคงต้องคอยเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา
และก็หมั่นทำ monitor ตัวเองแล้วล่ะ! ฮึ้บๆ~!!!★


เอาล่ะค่ะ! วันนี้ก็ขอโพสต์นี้แต่เพียงเท่านี้
พบกันในโพสต์ 漢語動詞(サ変動詞)คราวหน้านะคะ สวัสดีค่ะ♪!! (^^)/

4 ความคิดเห็น:

  1. พอลองอ่านของคนอื่นแล้วเอามาเปรียบเทียบกับตนเองแล้วรู้สึกห่างไกลกันมาก ขอเก็บไว้เป็นตัวอย่างนะคะ

    ตั้งแต่เรียนมากก็ไม่เคยคิดว่าการใช้ vてしまったนั้น สำคัญมากในการเล่าเรื่อง ซึ่งดูเหมือนว่าทุกคนก็คิดเหมือนกัน

    ส่วนเรื่อง i+1 นั้น ก็เห็นด้วยเหมือนกันค่ะ แต่การที่เราจะบวกทีละหนึ่ง นั้น อาจจะช้าไปหรือว่า สำหรับหนึ่งครั้ง หรือว่าเค้าน่าจะกำหนดไว้ว่า หนึ่งครั้งต่อกี่ชั่วโมง แอบสงสัยอยู่เหมือนกัน

    การอ่านของคำอื่นก็เหมือนเป็นการเช็คตัวเองไปในตัว ว่าคนอื่นเค้าใช้แบบนี้นะ แล้วตัวชั้นละใช้แบบไหน ดีค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อันนี้ก็ไม่ได้ดีเท่าไรหรอกนะ ยังต้องพัฒนาอีกเยอะเลย
      ใช่ๆๆ จำได้ว่าตอนเรียนเรื่อง vてしまった ตอนแรก งงมากเลยว่าความหมายเทียบกับภาษาไทยคืออะไรกันแน่ แล้วควรจะใช้ตอนไหนดี ตอนนี้ก็เลียนแบบลักษณะการใช้ของคนญี่ปุ่นอยู่เลย สู้ไปด้วยกันจ้า :D

      ลบ
  2. ストーリーテリング、前半部はだいぶいいと思います。
    「その隣に、近くにいるのが赤ちゃんなんです」「赤ちゃんがどんどんどんどんはいはいして行って」こんな表現から、状況を頭の中に鮮やかに描いていくことができます。
    ただ、終わりのほうになって私は混乱してしまいました。赤ちゃんは犬の尻尾のほう、お尻のほうに向かったのに、たどりついたらそこには犬の顔があったんですよね?犬のほうに向かったんだから犬がいるのは当たり前で、何にびっくりしているのかがよくわかりませんでした。
    2回目に話したときには聞き手も絵を見たことがあったんだと思いますが、見たことがない人が混乱しないような伝え方ができたらもっとよかったですね。

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. コメント、どうもありがとうございました。
      さっきほど、この話を初めて耳にした人としてこの話、特に柏さんのアドバイスしてくださったところを読んだらわかりました。柏さんのアドバイスを受け取り、相手が頭でもっと描きやすくなるように今後はもっと気を遣って話したいと思います。

      ลบ