วันนี้มาส่งการบ้านค่าาา~★
สำหรับการบ้านชิ้นนี้ คือ ได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่องที่ตัวเองอยากวิจัย เพราะคำอธิบายเล็กๆน้อยๆประกอบ แล้วเอาไปโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ Lang-8 ให้คนมาช่วยแก้ค่ะ (^^)/
งานนี้ รอบแรกลองเขียนดราฟต์แรกดูแบบสั้นๆ ง่ายๆ
ดราฟต์ 1 ที่ลองเขียนมีเนื้อความตามนี้ค่ะ
専門は人間生態学です。
人間がどうやって環境と調和して生活できるのかについて勉強していまして、
タイで問題となったゾウの絶滅の危機という研究を行っています。
มีคนมาช่วยตอบให้ 2 คนค่ะ
คุณคนแรกบอกว่าไม่มีจุดผิด
ส่วนคุณอีกคนบอกว่า ประโยคแรกถูกแล้ว แล้วก็มีข้อแนะนำเพิ่มเติมอย่างนี้ค่ะ
แล้วนอกจากนี้ ยังมีคอมเม้นต์มาเพิ่มว่า เพิ่งเคยได้ยินคำว่า "人間生態学" เป็นครั้งแรกเลยด้วย
ฟังแล้ว คนเขียนอย่างเราก็เลยเริ่มเอะใจว่า เอ๊ะ! หรือเขาไม่ได้ใช้อย่างนี้กันนะ
เพราะตอนที่หา ก็ค้นหาในพจนานุกรม คำนี้มีความหมายตรงกับคำว่า human ecology
ตอนนั้นเลยหยิบเอามาใช้เฉยเลย
คราวนี้ หลังจากตอนนั้นเลยลองมาหาในอินเตอร์เน็ตดูอีกที ปรากฎว่า ดูเหมือนว่าปกติเขาใช้คำว่า "人類生態学" กัน (อันนี้อ้างอิงจากเว็บไซต์ชื่อคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโตเกียว)
แต่ส่วนใหญ่แล้ว คำว่า "人間生態学" หรือ "人類生態学" จะเจอในฐานะชื่อศูนย์ศึกษาวิจัยเฉยๆ โดยจะอยู่ในคณะแพทยศาสตร์อีกที อย่างเช่น 東京大学医学部保健学科人類生態学教室 หรือ 北海道大学大学院保健科学研究院 人類生態学研究室 ค่ะ
หลังจากรอบแรกเขียนไปแบบงงๆ มึนๆ แล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยมีกระแสตอบรับ
เราเลยลองเขียนแล้วโพสต์ดูอีกรอบนึงค่ะ
คราวนี้เนื้อความยาวขึ้นมาอีกหน่อยนึง โดยเราได้ยึดเนื้อความฉบับเดิมเป็นหลัก แต่ว่าโพสต์รายละเอียดเพิ่มลงไป
นี่คือ ดราฟต์ 2 ค่ะ
専門は人間生態学で、
人間がどうやって環境と調和して生活できるのかについて勉強しています。
タイではゾウが昔から国の大切な動物として考えられています。
しかし、この数10年のあいだにキバのために狩られたり、地雷に踏んで死んでしまった
ゾウが少なくないそうで、ゾウの絶滅という問題の原因となっています。
私はその問題自体や解決方法について研究を行っています。
พอโพสต์ลงในเว็บไซต์ก็มีคนใจดีมาช่วยตรวจให้ คราวนี้เห็นจุดบกพร่องของตัวเองเพิ่มขึ้นแล้วล่ะ!人間がどうやって環境と調和して生活できるのかについて勉強しています。
タイではゾウが昔から国の大切な動物として考えられています。
しかし、この数10年のあいだにキバのために狩られたり、地雷に踏んで死んでしまった
ゾウが少なくないそうで、ゾウの絶滅という問題の原因となっています。
私はその問題自体や解決方法について研究を行っています。
คนนี้เขาแก้เพิ่มคำว่า 私の〜 ที่จุดแรกสุดให้
คาดว่าที่เขาแก้ให้อย่างนี้ เพราะประโยคนี้เป็นประโยคแรกด้วย ถ้าได้ใส่คำระบุเจาะจง
จู่ๆ ก็เอ่ยขึ้นมาเลย ก็อยากจะงงได้ ซึ่งพอลองอ่านแล้ว ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
ใส่แล้วเข้าใจขึ้นมากกว่าเยอะเลยล่ะ
จุดที่ 2 ที่โดนแก้คือคำว่า キバ(牙)ที่แปลว่า "งา (ช้าง)" ค่ะ
ตรงนี้โดนแก้ไขให้กลายเป็น 像牙(ぞうげ) เลย
เหตุผลก็คงคล้ายๆอันเดิม ก็คือ ตั้งแต่เปิดเรื่องมา ยังไม่ได้พูดถึงช้างเลย อยู่ๆพูดว่า งา เลยก็คงงงกันไม่ใช่น้อย...
จุดที่ 3 คือ คำช่วยค่ะ
ถ้า "เหยียบไปที่อะไร" ใช้คำช่วย を :「○○を踏む」
เช่น「地雷を踏む (เหยียบ(ไปที่)กับระเบิด)」「影を踏む (เหยียบ(ไปที่)เงา)」「足を踏まれる (โดนเหยียบเท้า)」เป็นต้น
และจุดที่ 4 ก็คือ ประโยคสุดท้าย ที่เขาได้เพิ่มคำว่า 瀕する(ひんする) มาด้วย
โอ้โห.. การใช้ ...に瀕する นี่เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกเลย
จากการเปิดพจนานุกรม 広辞苑 แล้วได้ความว่า
瀕する แปลว่า ある重大な事情が迫る。ちかづく。คือ พบเจอกับสิ่งที่หนักหนาสาหัส
เช่น
「危殆(きたい)にひんする ประสบกับสิ่งที่อันตรายมากๆ」
「死にひんする อยู่ในจุดคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นกับความตาย」
(ตัวอย่างเพิ่มเติมจากพจนานุกรมญี่ปุ่น- อังกฤษ)
「破滅(はめつ)にひんしている ใกล้จะพังพินาศ」
「我が党は分裂(ぶんれつ)の危機にひんしていた พรรคการเมืองของเราเคยเกือบจะแตกแยกกัน」
พอแก้จาก ゾウの絶滅という問題 (ปัญหาช้างสูญพันธุ์) เป็น ゾウが絶滅に瀕しているという問題 (ปัญหาช้างกำลังจะสูญพันธุ์) ก็จะตรงกับความหมายจริงๆที่อยากจะสื่อมากขึ้น
เพราะถ้าจะให้ว่าไปจริงๆแล้ว ตอนนี้ช้างก็ยังไม่สูญพันธุ์ แค่อยู่ในช่วงวิกฤตที่อาจจะสูญพันธุ์
นอกจากนี้ เราก็ได้ไปแอบถามคนญี่ปุ่นคนนี้ที่ช่วยแก้มาว่า คำว่า "人間生態学" นี่ จริงๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นแท้ๆ ใช้แล้วดูเป็นธรรมชาติหรือเปล่า
คุณคนใจดีก็ตอบกลับมาว่า
- 「人間生態学という学問は存在します。他にも似たような学問で、文化人類学や環境学というのもありますがこちらはより有名ですよ!」
สรุปว่า จริงๆ คำว่า 人間生態学 ก็มีอยู่นะ นอกจากนี้ ยังมีอีกสาขาวิชาที่คล้ายๆกันด้วย เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์และวัฒนธรรม กับ สิ่งแวดล้อมศาสตร์ (คาดว่าน่าจะเป็น 人類生態学 ที่ไปสืบค้นมาข้างต้นนี้) แต่อันนี้จะมีชื่อเสียงมากกว่าค่ะ
จากการเรียนด้วยสื่อเว็บไซต์ Lang-8 ครั้งนี้ เลยทำให้ทราบถึงการใช้ภาษาญี่ปุ่นว่า ถ้าเป็นคำที่เกริ่นมาครั้งแรกๆ ก็ควรจะเขียนให้ชัดเจนว่า เป็นของใคร อะไร ยังไง เพื่อที่ผู้อ่านจะไม่ได้งงเนอะ
ได้รู้การใช้คำช่วยให้ถูกต้อง ได้รู้คำศัพท์ พร้อมวลีใหม่ๆที่ดูหรูหรา 555 แล้วก็ได้บทเรียนด้วยว่า คราวหน้าก็ควรจะดูให้ดีให้ก่อนว่า คำศัพท์ที่ค้นหามาเนี่ยจริงๆ เจ้าของภาษาใช่้กันรึเปล่า คือต้องเตือนตัวเองให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น นอกจากจะเปิดพจนานุกรมแล้ว ก็ควรจะเปิดตรวจดูด้วยว่าในสังคมจริงๆ คนทั่วไปเขาใช้กันรึเปล่าด้วยนั่นเอง~
วันนี้ก็ขอจบการเขียนบล็อกครั้งนี้ลงเท่านี้ พบกันใหม่ครั้งหน้านะคะ สวัสดีค่าาา~♪
เป็นงานวิจัยที่อธิบายถึง背景ด้วย ทำให้เข้าใจง่ายว่าทำไมต้องทำ เขียนได้ดีค่ะ
ตอบลบขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะอาจารย์
ลบดูเหมือนว่า คนญี่ปุ่นใจดีที่มาช่วยตรวจภาษาญี่ปุ่นให้หนูเข้าใจผิดนึกว่าหนูกำลังวิจัยเรื่องนี้อยู่จริงๆด้วยล่ะค่ะ