31 มีนาคม 2558

⑨ คำศัพท์เกี่ยวกับ ★ ท.ทหารอดทน! ★

สวัสดีค่ะทุกคน (^^)/
เดือนมีนาคมเดินทางมาถึงวันสุดท้าย กำลังจะเข้าเดือนเมษายนในไม่ช้าแล้ว
ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นคงกำลังตื่นเต้นกับฤดูแห่งการผลิบานของพืชพรรณดอกไม้ และการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆอยู่แน่เลยเนอะ
ห่างจากญี่ปุ่นไปไม่ไกลนัก นักร้องที่เราชอบก็กำลังจะเข้ารับราชการทหารด้วยเช่นกัน...
เพราะฉะนั้น บล็อกครั้งนี้ของเราเลยขอนำเสนอคำศัพท์ธีมทหารๆค่ะ〜!!!(≧∇≦)



ก่อนอื่นอยากจะขอออกตัวก่อนว่าเราเพิ่งมาตื่นตัวกับคำศัพท์แนวทหารเมื่อปีสองปีที่ผ่านมา
ซึ่งคำแรกๆที่รู้จักก็คือ 軍隊 บ้างล่ะ 兵隊 บ้างล่ะ พอจะพูดว่า "คุณ ○○ จะไปเข้ากรมทหารแล้วนะ" ก็พูดได้แต่อะไรที่ basic สุดเลยคือ 兵隊に行く

หลังจากนั้นก็ลองสังเกตตามที่คนญี่ปุ่นใช้บ้าง ตามข่าวใช้บ้าง ก็เลยพบว่าเขาใช้คำว่า 入隊スル(にゅうたいスル)กันล่ะค่ะ แต่แค่นี้คงยังไม่พอเนอะ นอกจากนี้แล้วยังไงก็คงมีคำศัพท์ที่เราไม่รู้มากันนี้อีกสิน่า เพราะนั้นเราเลยได้ลองศึกษาดูจากเว็บให้ความรู้เกี่ยวกับการรับราชการทหารของเกาหลี


แล้วก็พบว่ามีคำศัพท์ที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

徴兵(ちょうへい)การเกณฑ์ทหาร
ถ้า "คนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหาร" เราจะเรียกว่า 徴兵忌避(ちょうへいきひ)ค่ะ
แต่ถ้า "คนที่ได้รับการยกเว้น" (อาจจะเพราะเหตุผลเรื่องความผิดปกติทางสภาพร่างกายหรือจิตใจ) เราจะใช้คำว่า 免除(めんじょ)ค่ะ ※ อย่างไรก็ตามคำนี้สามารถใช้กับการยกเว้นอย่างอื่นได้ด้วย เช่น 授業料を免除する ยกเว้นค่าเล่าเรียน เป็นต้นค่ะ    

入隊(にゅうたい)การเข้าเป็นทหารประจำการ ←คำนี้ได้ยินบ่อยมากๆเลยเนอะ
服務(ふくむ)       การปฏิบัติตามหน้าที่
คำนี้บางทีเราจะเห็นอยู่เป็นคู่หูกับ 兵役 นะคะ
兵役服務 แปลว่า การปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารค่ะ

所属(しょぞく)  การประจำภายใต้สังกัด
帰省(きせい)      การกลับบ้าน คำนี้ใช้ได้กับทั้งความหมายที่คนทั่วไปกลับบ้าน เช่น กลับบ้านเกิดวันสงกรานต์ และ นายทหารฝึกหัดกลับไปเยี่ยมครอบครัวเลยค่ะ
除隊(じょたい)  การปลดประจำการการฝึกทหาร

นอกจากนี้ คำว่า 面会(めんかい)ที่เราเคยนำเสนอไปแล้ว ก็ปรากฏในคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับทหารด้วยค่ะ โดยเราสามารถใช้คำว่า 面会 ในความหมายว่า (ครอบครัวหรือใคร) มาเยี่ยมระหว่างการอยู่รับราชการทหารได้ด้วยค่ะ



ถ้าเราอยากพูดถึงคุณ J. ที่กำลังจะเข้ากรมก็สามารถพูดได้ว่า
J.さんは、今日入隊してしまったんだ。 (วันนี้คุณ J.เข้ากรมฯไปซะแล้ว)
除隊するのが2016年の年末だから、この2年間わたしはきっと寂しいだろう。
(กว่าจะปลดประจำการก็ปลายปี 2016 โน้น สองปีนี้ฉันต้องเหงาแน่ๆเลย)
軍服務中の彼が健康でいられて、様々な貴重な経験ができることを祈っている。
(หวังว่าระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เขาจะมีสุขภาพแข็งแรง และได้รับประสบการณ์ที่มีค่า)
元気な姿で帰ってくるJ.さんを待っている。 (จะรอให้กลับมาอย่างแข็งแรง/ปลอดภัยนะ)

ปล. เพิ่มเติมอีกนิด :)
ตรงประโยคสุดท้ายนี้ จริงๆถ้าเป็นไปได้ เราก็อยากจะทำให้เรามันเป็น 漢語動詞(サ変動詞)นะคะ แต่จากสังเกตลักษณะประโยคที่คนญี่ปุ่นใช้ และสังเกตจากภาพยนตร์เรื่อง 永遠のゼロ (มีฉากนึงที่พระเอกของเรื่องพูดว่า ) ก็ดูเหมือนจะไม่มีคำไหนที่สามารถใช้แทนคำว่า "กลับมา" ได้ดีเท่า 帰ってくる หรือ 戻ってくる เลย เพราะฉะนั้นประโยคสุดท้ายเลยขออนุญาตใช้คำนี้นะคะ ^^



เอาล่ะค่ะ เราต้องขอลาไปกับบล็อกครั้งนี้แต่เพียงเท่านี้
หวังว่าคนในกรมทหารจะอยู่ดีมีสุขตลอดสองปี
หวังว่าทุกคนจะก้าวสู่ฤดูร้อน (ระอุ) ไปด้วยกันได้อย่างสวยงาม
แล้วพบกันคราวหน้านะคะ บ๊ายบาย~~~(^^)/




27 มีนาคม 2558

Task :: พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (New me!) :D

สวัสดีค่ะทุกคน! วันนี้อาจจะตกใจเล็กน้อยว่า เอ๊ะ! ทำไมเรามาไว 5555
ไม่ต้องตกใจนะคะ xD วันนี้มาอัพบล็อก Story Telling อีกรอบนึงค่ะ
ครั้งนี้เป็นการเล่าเรื่องเป็นครั้งที่ 2 แล้ว
เรามาดูกันสิว่า หลังจากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ได้ดู+ฟังตัวอย่างการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่น และได้ลองเขียนเนื้อเรื่องแก้ไปแล้วอีกรอบนึง การเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นของเราจะเป็นยังไง~~


 ★ STORY TELLING 赤ちゃんと犬


《➡ New me !? ⬅》
スタート!

 私は今言語学の授業を取っているんですけど、で、最近やっているストーリーテリングがあって、で、そこのストーリーテリングね、本当に面白かったんですよ。ま、ですから、ミンちゃんにも話したいなぁって思って。(あ、はい。お願いします。)じゃ、そのストーリーがね、あのう、登頂人物が赤ちゃんと犬なんですよ。(はい。)で、あのう、その時、犬はそのまま寝ていましたよ。(犬は寝ている?はい。)その犬が寝ていて、でその隣に、近くにいるのが赤ちゃんなんです。(はい。)で、赤ちゃんは犬に気になっているみたいで、犬の背中に「馬か熊みたいに乗ってみたいなぁ」と思いまして、で、ちょっと犬のほうにどんどんどん(はい。)近づいて行っていました。(はい。)で、その時その近づいていた時に、突然犬が目を覚めていいて、赤ちゃんと目を合いました。(はい。)で、赤ちゃんはとてもビックリしましたよ。(えっーはい。)で、その時、まぁ、もちろん今合っているのが目と目ですよね。でも、赤ちゃんが乗っていたいのが犬の背中ですから。(あ、はい。そうですね。)っていうことは尻尾のほうなんじゃないですか。(はい。)ですから、尻尾のほうに行けるように、ちょっとぐるっと回して行こうかなって思います。赤ちゃんはそのままはいはいして行っていました。(はい。)で、赤ちゃんがどんどんどんどんはいはいして行って、で、その目的地に着いたら、ちょっとビックリしましたことがあります。(えっーなんですか。)それは何かわかりますか。(犬がなんとか、犬が赤ちゃんの前にいる。)そうですね。はい。ですけど、なんか、あのう、ビックリしたことは、赤ちゃんの目の前がですね、犬が現してしまいました。で、赤ちゃんもまた、あのう、戸惑っていて(はい。)とてもビックリしました。(えっー)で、赤ちゃんみたいな言葉をなんか言っちゃいました。(はい。)これで以上です。(面白いですね。)

【内省】
ข้อดี
  • ได้ลองเกริ่นถึงที่มาที่ไปของเรื่องก่อนเข้าเรื่องจริงๆ โดยใช้คำว่า「〜ですけど、・・・」คล้ายตัวอย่างบทพูดของคนญี่ปุ่นที่ได้ฟังในชั้นเรียน 
  • ได้ลองเล่าโดยนึกถึงผู้ฟังมากขึ้น ดังที่เห็นได้จากการเปิดให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การใส่คำถามเพื่อให้ผู้ฟังมี ปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเรื่อง และการใช้คำว่า「〜ね」「〜よ」ลงท้ายบางประโยค
  • ได้ใช้คำศัพท์ที่ในครั้งแรกไม่ได้ใช้ เช่น はいはいをする และぐるっと回す เป็นต้น
  • ได้พยายามใช้คำที่น่าจะเพิ่มอรรถรสให้เรื่องขึ้นได้ เช่น 突然,どんどん รวมไปถึงได้ลองใส่คำพูดซึ่งเป็นความคิดของทารก คือ 「馬か熊みたいに乗ってみたいなぁ」 เพื่อไม่ใส่เนื้อเรื่องราบเรียบ มีแต่คำบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว
  • ได้พยายามใช้รูปกริยา 〜てしまう แสดงการกริยาที่เกิดขึ้น “ไปเสียแล้ว”
  • เลี่ยงการใช้คำว่า そして ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้อง
ข้อเสีย
  • ยังระวังเรื่องมุมมองของตัวละคร (視点) ไม่มากพอ ทำให้ในช่วงแรก อาจเกิดความสับสนว่าจะยึดทารก หรือสุนัขเป็นตัวละครซึ่งมีมุมมองหลักกันแน่
  • แม้จะเตือนตัวเองว่าไม่ควรใช้ filliers คำว่า そして หรือ えっと และหันไปใช้คำ fillers อื่นแทน แต่ก็พบว่ามีคำ fillers ที่ใช้มากเกินความจำเป็น คือคำว่า  นอกจากนี้ ยังมีบางจุดที่เผลอใช้คำ fillers ซ้อนกัน เช่น で、あのう หรือ なんか、あのう ต่อจากนี้ควรมีสติระวังให้มากกว่านี้
  • เผลอใช้ V.自動詞/V.他動詞 ผิด คือ ตรงที่พูดว่า 犬が現してしまいました นั้น จริงๆแล้วควรจะพูดว่า 犬が現れてしまいました。
  • ใช้คำว่า 目的地 ซึ่งมีความหมายว่า "ที่หมาย" ในประโยคที่ว่า 赤ちゃんがどんどんどんどんはいはいして行って、その目的地に着いたら、ちょっとビックリしましたことがあります。พอมาลองฟังหลังจากแกะจะเสียงที่อัดแล้ว ก็รู้สึกว่าคำว่า 目的地 นี้ยิ่งใหญ่เกินไปในบริบท เพราะในภาพทารกแค่คลานไปที่ใกล้ๆเท่านั้นเอง เมื่อใช้ศัพท์คำนี้เลยทำให้ประโยคไม่เป็นธรรมชาติ
  • น่าเสียดายที่ตัวเองไม่พยายามใช้ 漢語動詞(サ変動詞)ซึ่งเป็นหัวข้อที่กำลังศึกษาอยู่มากเท่าทีควร (ㅠ_ㅠ) *→ ไม่น่าลืมใช้เลย ฮื้อออ~~ ครั้งหน้าต้องพยายามให้มากกว่านี้สินะ...*


สำหรับการเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นในครั้งนี้ ถ้าถามว่าพอใจมั๊ย
เรารู้สึกว่าถ้ามองในแบบสมมติฐาน input ของคุณ Krashen (クラッシェン) ที่พูดถึง「i+1」
แบบฝึกหัดเล่าเรื่องครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้คำรู้ใหม่ๆ และก็เป็นเสมือนกระจกสะท้อนให้เห็นตัวเองเลยค่ะ
(เพราะขอยอมรับว่าก่อนมาเรียนวิชานี้ก็แทบจะไม่เคย monitor ตัวเองเลย >_<)
ผลจากการทำแบบฝึกหัดครั้งนี้ทำให้เราเห็นการพัฒนาทั้งในเรื่องการใช้คำศัพท์และ fillers ในระดับหนึ่ง ก็เลยพอใจในระดับนึง แต่ใจจริงก็รู้สึกว่าจริงๆ ตัวเองน่าจะพัฒนาได้มากขึ้นกว่านี้อีกนะ
คือเหมือนกับที่พูดไปเมื่อบล็อก 内省 Story Telling ครั้งที่แล้วเลย
เรารู้สึกว่าที่สำคัญมากๆแบบขาดไม่ได้เลยคือ การมี 意識 อยู่ตลอดเวลา
..จนกว่าจะใช้ภาษาที่ถูกต้องได้จนชิน ตัวเองคงต้องคอยเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา
และก็หมั่นทำ monitor ตัวเองแล้วล่ะ! ฮึ้บๆ~!!!★


เอาล่ะค่ะ! วันนี้ก็ขอโพสต์นี้แต่เพียงเท่านี้
พบกันในโพสต์ 漢語動詞(サ変動詞)คราวหน้านะคะ สวัสดีค่ะ♪!! (^^)/

26 มีนาคม 2558

⑧ เมื่อต้องเขียนกำหนดการเที่ยว♪

สวัสดีค่ะทุกคน!
วันนี้ขอกลับมาในหัวข้อเรื่อง "漢語動詞(サ変動詞)ในการเขียนกำหนดการเที่ยว" ค่ะ

คืออย่างนี้ค่ะทุกคน~~ เรื่องมันมีอยู่ว่าเมื่อไม่นานมานี้ เราได้มีโอกาสลองเขียนกำหนดการเที่ยวสำหรับคนญี่ปุ่นดู
ก็เลยนึกถึงกำหนดการเที่ยวที่เคยตั้งใจว่าจะเขียนขึ้นมาได้

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อนที่รักมากคนนึงตัดสินใจมาเที่ยวไทย
เราสองคนตกลงกันว่าจะไปเที่ยวด้วยกันตลอดหนึ่งสัปดาห์
ในฐานะที่เป็นเจ้าบ้าน เรา (←หมายถึงตัวผู้เขียน) เลยตั้งใจจะทำกำหนดการเที่ยวให้เป็นของขวัญ

อ้างอิงจากการเขียนกำหนดการไป 出張 จากหนังสือเรียนการเขียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจซึ่งได้เรียนตอนปี 4 เทอม 1 ด้วย ในการเขียนกำหนดการต่างๆ ตามปกติแล้วเราก็มักจะเห็นเขาเขียนโดยลงท้ายด้วย 漢語 เพื่อความกระชับใช่ไหมคะ
เราเองก็อยากเขียนได้แบบนั้นบ้าง อย่างคำว่า 出発 หรือ 到着 ก็พอจะนึกออกนะคะ
แต่จนแล้วจนรอด ก็มีคำศัพท์ที่นึกไม่ออกว่าควรจะเขียนยังไงดี
สุดท้ายแล้วกำหนดการทริปนั้นของเราก็เลยจบด้วยการเขียนเป็นภาษาอังกฤษ (แบบกระท่อนกระแท่นของเรา) ซะอย่างนั้นเลย;;

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดตอนนี้ก็ได้มีโอกาสแก้มือแล้วค่ะ!
เราเลยขอใช้โอกาสนี้เป็นการเรียนรู้ แก้มือ แล้วก็ 内省 สิ่งที่ตัวเองได้ทำไปด้วยเลยค่ะ

งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ (^^)/




ำศัพท์ 漢語動詞 ที่ได้ใช้ในครั้งนี้ก็มีดังนี้ค่ะ
หลายๆคำน่าจะเป็นคำที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว~☆

  ・集合(しゅうごう) การรวมตัว
  ・出発(しゅっぱつ) การออกเดินทาง
  ・到着(とうちゃく) การถึง (ที่หมาย)
  ・移動(いどう)        การเคลื่อนย้าย
  ・観光(かんこう)     การท่องเที่ยว/เที่ยวชม
  ・帰着(きちゃく)     การกลับมาถึง

นอกจากคำศัพท์ที่ใช้ในการบอกกำหนดการแล้ว เราก็ได้ใช้คำศัพท์พวกนี้ในการ
เขียนอธิบายสถานที่ท่องเที่ยวสั้นๆ ด้วยค่ะ
  ・訓練(ぐんれん)    การฝึกซ้อม
  ・建設(けんせつ)    การสร้างขึ้น
  ・崩壊(はかい)       การพังทลาย
  ・満喫(まんきつ) 
  ・観賞(かんしょう)

ทั้งนี้ จากลิสต์คำศัพท์ทั้งหมด มีสองคำที่เราสะดุดตาค่ะ คือ

  満喫(まんきつ)
ใช้กับเวลาที่เราดื่ม/กินอะไรจนอิ่มหนำ หรือ สนุก/เพลิดเพลินกับอะไรจนเต็มอิ่มค่ะ
เช่น   新鮮な魚介(ぎょかい)を満喫する。  กินปลาที่มีความสดจนอิ่มหนำ
   京都の秋を満喫する。                           เพลิดเพลินไปกับฤดูใบไม้ร่วงของเกียวโตจนพอใจ
   ホームステイで和やか(なごやか)に暮らし、留学生活を満喫しました。
   ใช้ชีวิตกับโฮสต์แฟมิลี่อย่างสงบสุข และสนุกไปกับชีวิตนักเรียนแลกเปลี่ยน

คำนี้ก็เป็นคำศัพท์สวยๆเนอะ เวลาจะเขียนบรรยายความรู้สึกต่างๆ หรือเขียนเรียงความก็อย่าลืมนึกถึงคำนี้นะคะทุกคน♪



 ② 観賞(かんしょう)หมายถึง การชมสิ่งสวยๆ เพลิดเพลินหัวใจ เช่น การชมดอกไม้ค่ะ
ในงานเขียนชิ้นนี้ เราพูดถึงการชมหิ่งห้อยที่อัมพวาเลยใช้ว่า
ホタル観賞(ほたるかんしょう)การชมหิ่งห้อย




※ ทั้งนี้คำว่า 観賞(かんしょう)มีคำพ้องเสียงอย่างฝาแฝดด้วย คือ 鑑賞(かんしょう)
บล็อกหนึ่งในเว็บไซต์ コトバノ(http://www.kotobano.jp/archives/1457)ได้อธิบายถึงความแตกต่างของทั้งสองคำไว้ดังนี้ค่ะ

観賞 :: 
คำนี้มีคันจิตัว 観 ซึ่งมีความหมายว่า ดู(見る)อยู่ ดังนั้นจึงมีความหมายของการตั้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเป้าหมายในการดู
★ 鑑賞 :: 
ตัวคันจิ 鑑 ในคำนี้ให้ความหมายว่า "คิดและแยกแยะว่าอันไหนดีอันไหนแย่" เพราะฉะนั้น เราเลยเอามาใช้ในการชมและซาบซึ้งผลงานศิลปะที่มนุษย์สร้าง เช่น ดนตรี หรือภาพยนตร์ค่ะ
คำที่พบบ่อยๆ คือ 映画鑑賞 (การชมภาพยนตร์) และ 音楽鑑賞 (การฟังดนตรี) ค่่ะ
อย่างไรก็ตาม ถ้าลองเสิร์ซในอินเตอร์เน็ตก็เป็นที่น่าสังเกตว่ามีคนใช้คำว่า 蛍鑑賞(ほたるかんしょう)กับการชมหิ่งห้อยดูเช่นกันค่ะ เพียงแต่ในกรณีนี้คำว่า 観賞 จะได้รับความนิยมมากกว่า
ホタル観賞 > ホタル鑑賞



【内省】
สุดท้่ายนี้ มา 内省 สิ่งที่ได้เรียนรู้กันซักนิดนะคะ~~
1. ได้เรียนรู้ศัพท์ที่แต่ก่อนอยากรู้ แต่ไม่รู้ว่าต้องพูดว่าอย่างไร คือ คำว่า 帰着
    ทำให้ต่อไปนี้ ถ้าจำต้องทำกำหนดการต่างๆเป็นภาษาญี่ปุ่นก็สามารถทำได้ดีขึ้นแล้ว
2. ทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่คือคำว่า ホタル観賞
    ได้ลองใช้ผิดใช้ถูก และหลังจากศึกษาค้นหาแล้ว ก็พบว่า จริงๆคำนี้มีฝาแฝดนะ!
    เวลาเขียนต้องระวังให้ดีเชียวว่าจะเลือกใช้คันจิถูกความหมาย ตรงกับสิ่งที่อยากจะสื่อหรือยัง




สำหรับวันนี้ต้องขอลาไปก่อนแล้ว~~~ ไว้พบกันครั้งหน้านะคะทุกคน (≧∇≦)

23 มีนาคม 2558

Task :: พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (I can change!)

สวัสดีค่ะทุกคน彡☆
ขอโทษด้วยที่หายไปนานเลยนะคะ
ต่อไปนี้จะไปหายไปนานๆแล้วล่ะค่ะ (>_<)

เอาล่ะค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา 
เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าค่ะ
Task ครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่ได้ลองทำกันในห้อง โดยเราได้ลองดูภาพ แล้วเล่าเรื่องให้อีกฝ่ายฟัง

โจทย์ภาพที่ให้เล่าของเราเป็นอย่างนี้ค่ะ ^^ 
เป็นเรื่องราวน่ารักๆ เกี่ยวกับ "เด็กและสุนัข" (赤ちゃんと犬)



คราวนี้ลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า เรามีพัฒนาการในการเล่าเรื่องอย่างไรบ้าง~♪


① By myself:

เล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นครั้งแรก หลังจากที่ได้ลองเล่าเรื่องให้อีกฝ่ายฟังเป็นภาษาไทย


 その現場は、一人と一匹がいます。一人と一匹っていうのは、一人が赤ちゃんっていうキャラクター。で、もう一つのキャラクターは一匹の犬ちゃんです。(あぁ)その現場は、そのわんちゃん、その犬は今寝ています。で、あのう、赤ちゃんはわんちゃんの近くに近づけて・・・あ、赤ちゃんは犬の近くに行こうとしています。(歩く?その・・)いいえ、赤ちゃんみたいに(動く?)はい、動く。そういう動き方をしました。で、そのとき、どうして、あのう、犬の近くに、あのう、行きたいかというと、その犬の裏に乗ってみたいっていうことです。(あぁー)はい、赤ちゃんの考え方ですね。はい。(あぁ)で、近づいたら、犬が急に、あのう、起きました。で、二人とも目合って、ビックリしましたよ。もちろん、そうですよね。自分が寝たら、目をあけたら、えっ、誰かが目の前にいるか(起こしました)ビックリしましたよね、(ええ。はい。そうですね。)そんな近い距離に。で、あのう、そう来ても、犬は赤ちゃんに全然興味持っていませんでした。(うん)だから、無視して、別の方向に向いていました。(あぁー(笑))はい、で、赤ちゃんは、まぁ、どうしても犬と遊びたいですよね。(はい)ですから、まぁ、今、あのう、自分の顔に向いている方が犬のしっぽ。ですから、犬を回して、犬の顔に見えるように歩いていて、で、結局、丸っていう形みたいに犬の所まで行って。(あのう、しっぽは、なんか、赤ちゃんは犬のしっぽ、なんかタッチする?)あぁー しません。ただ、方向だけです。もし振り向くっていうことだったら、顔がこっちにありますよね。で、しっぽは別の方向、逆の方向になっているじゃないですか。(うん)で、赤ちゃんは元々顔が見えない方向にいました。で、その目と目とか、顔が見えるようにそういう方向に行って、っていうことは回して行きました。(はい、はい。)で、結局、犬の顔に見えて、何かよくわからない言葉でお互いで話し合いました。(うーん。結局、犬は赤ちゃんの裏に乗らない?)そうですね。乗らなかったです。(はい。)

《内省 ①》
เริ่มแรกมาก็ผิดเลยค่ะ ;; เพราะดันไปใช้คำว่า 現場 ซึ่งจริงๆ มีความหมายว่า "ที่เกิดเหตุ" เนอะ
・ตอนนั้นนึกคำว่า คลาน (はう/はいはいをする) ไม่ออก
・ไม่ทราบว่า ถ้าอยากบอกว่า หมุนเป็นวงกลม (ぐるっと回す) ต้องพูดยังไงด้วย เลยทำให้อธิบายเรื่องทิศทางเสียยาวยืดเลย
・ยังให้ความสำคัญกับ 視点 ที่เล่าไม่พอนัก ทำให้ผู้ฟังอาจสับสนได้
・ลืมใช้ไวยากรณ์ V.てしまう ในกรณีที่เหตุการณ์ "เกิดขึ้นไป(เสีย)แล้ว" 
・เล่าเรื่องโดยใช้การบรรยายภาพอย่างเดียวเลย ทำให้การเล่าเรื่องขาดความสนใจและอรรถรส


② I see:
นำการเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นในครั้งแรกมาแก้ไข หลังจากอาจารย์แนะนำข้อบกพร่อง (ครั้งที่ 1) 
และได้เห็นตัวอย่างการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นแล้ว

小さくて可愛い赤ちゃんがいました。その赤ちゃんは、その近くで寝ている犬に「馬みたいに乗ってみたいなあ」と思って犬の近くにはいはいをして近づいて行きました。すると、その犬が突然目を覚まして、お互い に 顔を合わせてしまいました。赤ちゃんはとてもビックリして慌てしまいましたが、犬に乗りたい意志をまだ曲げないで、今回は犬の視線に注目されない(?)尻のほうにぐるりとまわってはいはいをして行きました。しかし、この時犬が向きを変わったので、結局、赤ちゃんの目の前には、犬の尻じゃなくて犬の顔でした が出てしまいました/現れてしまいました 赤ちゃんはとても不思議がっていて、赤ちゃんなりのことばで犬と話しました。その時はもしかして犬に質問したかもしれませんね。

《内省 ②》
1. ลักษณะการเล่าเรื่อง
  • ในตอนแรก ยังติดลักษณะการเล่าเรื่องแบบภาษาไทยอยู่ คือ เล่าจากฉากที่มีก่อน เช่น เรื่องนั้นเกิดขึ้นที่ไหน มีตัวละครอะไรบ้าง และมุ่งเน้นไปที่การบรรยายภาพอย่างเดียว แต่จากที่ได้ศึกษางานเขียน ตัวอย่างแล้ว ก็พบว่า ทำให้ทราบว่า คนญี่ปุ่นนิยมเล่าโดยการเริ่มต้นเรื่องจากตัวละครไปเลย แล้วจึงค่อยๆเล่าเป็นเหตุการณ์ตามลำดับไป นอกจากนี้ การเสริมคำคิดของตัวละคร เช่น 「馬みたいに乗ってみたいなあ」と思って... ก็เป็นจุดที่ช่วยสร้างสีสันให้เรื่อง
  • ในการเล่าเรื่อง ผู้เล่าเรื่องควรคำนึงถึงมุมมองการเล่าเรื่องโดยยึดตัวละครใดตัวละครหนึ่งเป็นหลักไปเลย เพื่อให้ผู้ฟังไม่สับสน ข้อสังเกตนี้ตอกย้ำความคิดเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นที่ข้าพเจ้าเคยคิด กล่าวคือ คนญี่ปุ่นมักเอาใจใส่ฝ่ายตรงข้ามเสมอ ซึ่งนี่เป็นลักษณะนิสัยหนึ่งที่ข้าพเจ้าอยากนำมาปฏิบัติตาม
2. คำศัพท์ และสำนวนต่างๆ

  • ในตอนแรก ข้าพเจ้านึกคำว่า “คลาน” ไม่ออก (จำได้ลางๆว่าคือคำว่า はう) แต่หลังจากที่ศึกษางานเขียนตัวอย่างแล้วพบว่า คนมักจะใช้คำว่า はいはいする ทั้งนี้ ที่เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นเพราะว่าเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กนั่นเอง
  • หลังจากแก้งานแล้ว ข้าพเจ้าได้ลองใช้กริยารูป ~てしまう ทำให้ได้ความรู้สึกว่า ทำไปเสียแล้ว
  • ได้ลองใช้คำศัพท์ที่เก็บใจความเรื่องได้ดี เช่น 近づいてくる (มาใกล้ๆ) และคำศัพท์/สำนวนใหม่ๆที่อยากพูด แต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าพูดอย่างไร (ทำให้แต่ก่อนเลี่ยงไปใช้คำที่ง่ายกว่าซึ่งตัวเองรู้อยู่แล้วแทน) คำศัพท์/สำนวนใหม่ๆที่ลองใช้ในงานเขียนแก้ไขครั้งนี้ เช่น ぐるりとまわる (หมุนเป็นวงกลม)向きが変わる (เปลี่ยนทิศที่หันหน้า), 不思議がる (สงสัย)
  • ได้ลองให้คำขยายที่ทำให้เห็นภาพ เช่น 突然ぐるり ทำให้ผู้ฟังน่าจะจินตนาการภาพเรื่องราวได้ดีขึ้น

3. เพิ่มเติม (จากการแก้ไขของอาจารย์)
  • การใช้คำว่า "...ด้วยกันทั้งสองฝ่าย" お互い +  に  เสมอ
  • จุดที่บอกว่า 今回は犬の視線に注目されない(?)尻のほうに จริงๆตั้งใจจะสื่อว่า "ก้นที่สุนัขจะไม่ได้ให้ความสนใจ" แต่น่าจะสื่อความหมายกำกวม ไม่เป็นธรรมชาติ
  • ประโยคที่บอกว่า 赤ちゃんの目の前には、犬の尻じゃなくて犬の顔でしたในตอนแรกผิดหลักไวยากรณ์ เพราะจริงๆ ต้องใช้ว่า "สถานที่ に、นาม が出る/現れる" ดังนั้น ประโยคนี้ จึงควรแก้ไขเป็น 赤ちゃんの目の前には、犬の尻じゃなくて犬の顔 が出てしまいました/現れてしまいました 


เป็นอย่างไรบ้างคะ
มหากาพย์การเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่นของเรา
มีจุดผิดบึมเลย T__T
ต่อจากนี้คงต้องใส่ใจ และพยายามกับภาษาญี่ปุ่นให้มากขึ้นแล้ว!
นอกจากได้รู้ระดับทักษะภาษาญี่ปุ่นของตัวเองแล้ว สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้ก็คือ สติสำคัญมาก!!
ไม่ว่าจะสื่อสาร เล่าเรื่อง หรือทำอะไร เราก็ควรมีสติในทุกๆการกระทำ



สำหรับวันนี้ก็ขอจบบทความสรุปงานไปแต่เพียงเท่านี้
ไว้มาพบกันใหม่ในบทความเสนอความรู้นะคะ สวัสดีค่ะ~~(*^^*)