23 เมษายน 2558

Special :: 今までのこのブログ☆

สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกันแบบเฉพาะกิจเลยเนอะ
ก่อนที่จะพรีเซ้นต์บล็อกคาบเรียนพรุ่งนี้
เราลองมาย้อนดูกันดีกว่าว่า ตั้งแต่วันแรกจนถึงตอนนี้เราทำอะไรไว้ในบล็อกนี้บ้าง :)


① ชื่อบล็อก และแนวคิด
     ・ตั้งชื่อบล็อกว่า berurin32sprout ด้วยแนวคิดที่ว่าตัวเราเองยังอ่อนหัดภาษาญี่ปุ่นเหมือนต้นกล้าน้อยๆ ที่กำลังเติบโต

② เรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
     ・「漢語動詞(サ変動詞)」
     สาเหตุที่เลือกศึกษาเรื่องนี้ เพราะตัวเองเป็นคนอ่อนคันจิมากกกก! และก็รู้สึกว่าพอจะสื่อสารภาษาญี่ปุ่นที่เป็นทางการ ถ้าเราใช้ サ変動詞 จะดูโปรกว่าเลยอยากศึกษาให้มากขึ้น

③ เป้าหมาย
     ・พยายามศึกษา サ変動詞  และเพิ่มพูนคลังคำศัพท์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

④ เนื้อหาในบล็อก
     ・แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     1) การบ้านที่ได้รับมอบหมาย เช่น งาน Lang8 และ 内省 Story Telling (3 บทความ)
     2) เอ็นทรีเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้จากการสื่อสารในชีวิตประจำวัน, ห้องเรียน, งานพิเศษ, การดูโทรทัศน์, การอ่านบทความ ฯลฯ (จนถึงตอนนี้มี 12 บทความ)
         2.1) แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ

         2.2) เปรียบเทียบความเหมือน-ต่างของคำศัพท์แต่ละคู่
                เช่น  ③ 逃走 vs 逃亡 ต่างกันตรงไหน..?
                         ⑪ 開催 vs 実施

         2.3) รวบรวมคำศัพท์ไว้เป็นหมวดหมู่
                         
     ・ในการนำเสนอคำศัพท์แต่ละครั้ง จะบอกเสียงอ่าน, ความหมาย, ความแตกต่างกับคำที่ใกล้เคียง, การนำไปใช้, 内省 และในบล็อกครั้งหลังๆ ก็ได้ลองแต่งประโยคเสริมอีกด้วย

⑤ การตกแต่งและสไตล์ของบล็อก
     ・เขียนเนื้อหาด้วยสีเข้มเพราะคิดว่าน่าจะอ่านง่าย และพยายามเน้นคำศัพท์ที่อยากนำเสนอด้วยสีสดใส
     ・ใส่รูปภาพประกอบเพื่อให้ไม่น่าเบื่อ เข้ากับเนื้อหา และธีมบล็อก
     ・ใส่เพลงบรรเลงสบายๆ ทำให้ผ่อนคลาย

⑥ เรื่องอื่นๆ
     ช่องทางในการศึกษาค้นคว้า : นอกเหนือจาก Search Engine ทั่วไปแล้ว ยังใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ต่างๆ เช่น Lang8 และ NINJAL มาช่วยในการศึกษาด้วย
     คอมเม้นท์ : ตอบคนที่มาคอมเม้นท์ นอกจากนี้ก็ได้พยายามไปเยี่ยมและคอมเม้นท์บล็อกคนอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

⑦ ผลการศึกษา และการประเมินตัวเอง
     การศึกษาค้นคว้า :
         - ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และได้ทำความเข้าใจกับสิ่งที่สงสัย ทำให้คลังคำศัพท์กว้างขึ้น
         - มีโอกาสหาความรู้ ด้วยเครื่องมือทางการศึกษามากขึ้น
         - จุดประกายความคิดทางศึกษา และสร้างนิสัยที่ดีทางการศึกษา จากการฝึก monitor ตัวเอง
         - ได้เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น
     ความสม่ำเสมอ : ยังทำไม่ได้สม่ำเสมอเท่าที่ควร มีบางช่วงที่หายไป ไม่ได้อัพบล็อกเลยก็มี
     ภาพรวม : คิดว่าบรรลุเป้าหมายไปประมาณ 50-60%

⑧ สิ่งที่อยากทำต่อจากนี้
     - อัพบล็อกในมากขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่า ภายในวันที่ 11 พ.ค. อยากให้มีเอ็นทรีรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 20 เอ็นทรี
     - อยากฝึก output ตัวเองให้มากขึ้น และเลือกรับข้อดีของบล็อกคนอื่นมาปรับใช้ เช่น อยากเขียนเอ็นทรีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านโดยตรงให้มากกว่านี้
     - ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากลองใช้เครื่องมือทางการศึกษาอื่นๆ เช่น なつめ ด้วย

เอาล่ะค่ะ วันนี้ก็ขอลาไปก่อนแล้ว พบกันในพรีเซ้นต์พรุ่งนี้นะคะ :D

        

19 เมษายน 2558

⑫ ว่าด้วยเรื่อง 翻弄

สวัสดีค่ะ♪ (^^)
วันนี้ขอแว๊บเข้ามาแนะนำคำศัพท์ที่เพิ่งได้เรียนรู้ไปหน่อยค่ะ


เมื่อไม่นานมานี้เราได้พบคำศัพท์คันจิขยุกขยุยจากบทสัมภาษณ์ข่าวบันเทิงฉบับนึงค่ะ
จริงๆก็มีคำศัพท์ที่เราต้องเรียนรู้อีกเยอะเลย
แต่ในฐานะที่ทำบล็อกเรื่อง サ変動詞 อยู่ เพราะเฉพาะจะขออนุญาตซูมไปที่เรื่องนี้เป็นพิเศษนะคะ ^^

คำศัพท์ในครั้งนี้คือคำว่า
翻弄スル(ほんろうスルค่ะ
บริบทที่เราพบประโยคนี้ เขากำลังพูดถึงเนื้อเพลงเพลงหนึ่งอยู่ค่ะ ผู้สัมภาษณ์ถามว่า
「女性に翻弄されちゃうわけだから、男としてはあまりかっこよくないかな?」
เห็นคำนี้ตอนแรก ยอมรับเลยว่าเห็นตัว 翻 ขึ้นมา เลยงงว่าเอ๊ะ! เกี่ยวกับการแปลหรอ?
แต่ดูจากบริบทแล้วไม่น่าจะใช่เลยเนอะ ;; ก็เลยไปลองเปิดพจนานุกรมดู
翻弄する มีความหมายว่า "ปั่นหัว, หลอกล่อให้งง"
ถ้าให้พูดให้ง่ายขึ้นก็คือ 振り回す(ふりまわす)ค่ะ


เพราะฉะนั้นคำถามในประโยคข้างบนนี้ จึงมีความหมายว่า
"(เพลงนี้พูดถึงการ) ถูกผู้หญิงปั่นหัว ตรงนี้สำหรับผู้ชายแล้ว รู้สึกว่ามันไม่ค่อยเท่รึเปล่า?"


หลังจากนั้น เราก็ได้ลองใช้บริการ NINJAL เจ้าเก่าดูว่า นอกจากประโยคเช่นว่า..
→ A 君は B さんに翻弄されてしまった。(A คุงโดนคุณ B ปั่นหัวเข้าซะแล้ว)
→ 敵を翻弄する。(หลอกล่อข้าศึกศัตรู)
ปกติแล้วคนญี่ปุ่นเขาใช้คำนี้ในบริบทไหนกันบ้าง ...ถ้าพร้อมแล้วก็ลองไปดูกันเลยค่ะ!
ถึงแม้คำนี้จะไม่พบเห็นบ่อยนัก แต่ผลการค้นหาก็ออกมาน่าสนใจมากๆเลย~~
ในที่นี้เลยอยากจะขอเพิ่มเติมเรื่องลักษณะการใช้ด้วยซักเล็กน้อยนะคะ
運命に翻弄される = ได้รับผลกระทบอันใหญ่หลวงจากสาเหตุภายนอก ทำให้ตัวเองไม่สามารถทำอะไรให้ดีขึ้นได้เลย
波に翻弄される = ได้รับผลกระทบจากกคลื่น/กระแสอะไรบางอย่าง
อย่างไรก็ตาม 'คลื่น' ในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึง 'คลื่นทะเล' จริงๆเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นกระแสทางสังคม หรือ กระแสทางกาลเวลา ฉะนั้นบางครั้งเราจึงพบว่ามีการใช้สำนวน 時代の波に翻弄される(時代に翻弄される) ซึ่งหมายถึง ได้รับผลกระทบมากมายจากการเปลี่ยนยุคสมัยด้วยค่ะ

ทั้งนี้จากสังเกต เรารู้สึกว่าถ้าเป็นกรณีสำนวน ก็มีประโยคภาษาญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเลยที่ใช้ ○○に翻弄されるเป็นส่วนขยายนาม
เช่น 時代を輝かせ、時代に翻弄された男の美しくも切ない人生ー
(ชีวิตที่สวยงามและเจ็บปวดของชายหนุ่มผู้ส่องประกายยุคสมัย ขณะเดียวกันก็ถูกยุคสมัยกลั่นแกล้ง)
《อ้างอิงจาก Sports graphic number plus, 2004》

สุดท้ายนี้ มาลองแต่งประโยคกันดูค่ะ★
・第二次世界大戦の波に翻弄された人々は、苦しい生活をしていた。(ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก)


บล็อกวันนี้ก็มาแบบมาเร็วไปเร็วกว่าทุกวันเลยเนอะ ;;
แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น เราก็หวังว่าทุกคนก็คงจะได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะคะ
อย่างน้อยก็อ่านออกว่าคันจิ 弄 พออยู่ในคำนี้แล้วอ่านว่าอะไร แล้วก็น่าจะได้ทราบความหมายกันนะคะ เผื่อเจอในนิตยสาร ละคร รวมทั้งบทความต่างๆ จะได้ไม่งงเหมือนเราในตอนแรก (>_<)
วันนี้ต้องขอตัวไปแล้วจริงๆละค่ะ แล้วพบกันใหม่นะคะ บ๊ายบาย~~~♫


15 เมษายน 2558

⑪ 開催 vs 実施

สวัสดี และสุขสันต์วันปีใหม่ไทยค่ะทุกคน
٩(๑•◡-๑)۶ ☁ ☀
พักผ่อนกับวันหยุดยาวกันเต็มที่ไหมคะ~~


เอาล่ะค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเข้าบทเรียนในวันนี้กันเลยดีกว่าค่ะ!
วันนี้เป็นบทเรียนเพื่อสนองความต้องการของตัวเองล้วนๆเลยค่ะ (>_<)



สืบเนื่องมาจากว่าได้รู้จักคำว่า 行う มาเป็นเวลานานแสนนานแล้ว
พอโตขึ้นมาอีกนิด เราก็ได้เรียนรู้วิธีการใช้ 漢語動詞 มากขึ้น
บางทีเราเลยเห็นเขาใช้ว่า 開催する และบางทีก็เห็นว่าใช้ 実施する ในการพูดถึง "การจัดขึ้น"
และจากประสบการณ์ทำการบ้านวิชาแปลของเรา ก็พบว่าบางกรณีสองคำนี้ก็ใช้แทนกันได้ด้วย 
(จากตัวอย่างทั้งสองข้างล่างนี้ เราลองเขียนคำนึงไปดู เฉลยของอาจารย์เป็นคนละแบบกัน แต่ก็ไม่โดนหักคะแนนแฮะ >_<)




วันนี้เราเลยขออนุญาตทำหน้าที่เป็นนักสืบ.. ไปสืบหาความแตกต่างนี้ดูค่ะ!

ตามพจนานุกรม 広辞苑 ได้กล่าวไว้ว่า
開催(かいさい)会や行事を開き行うこと。
     แปลเป็นภาษาบ้านๆได้ว่า การจัดงาน(ที่มีคนมาชุมนุมกัน) หรืองานอีเว้นท์
実施(じっし)    実際に施行すること。実行。
     หมายถึง การทำให้เกิดขึ้นจริงๆ

หลังจากที่ได้ค้นคว้าจากกระทู้ถาม-ตอบของคนญี่ปุ่น ก็พบว่า
・ในกรณีที่ต้องการบอกว่า จัดงานโอลิมปิกส์「オリンピックを○○」
(อ้างอิงจาก : http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1290733967)
    -  มีทั้งคนที่เห็นด้วยว่า 開催◎ 実施◎
    -  คนที่บอกว่า สองคำนี้ให้ ニュアンス ต่างกัน แต่ใช้แทนกันได้
    -  คนที่่คิดว่า オリピックを実施× (เพราะ「実施」ใช้อยู่หลังคำที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวเสมอ)

・สำหรับกรณี 「キャンペーンを○○」
(อ้างอิงจาก : http://detail.chiebukuro.yahoo.co.jp/qa/question_detail/q1210452862)
    ก็มีผู้บอกว่า ความแตกต่างมันอยู่ที่
キャンペーンを開催 จะเป็นการพูดต่อ "คนที่เคยมาสถานที่นั้นๆแล้ว หรือได้มาเยือนที่นั้นอีก"
ส่วน キャンペーンを実施 จะเป็นการพูดต่อ "แขกที่เพิ่งมาเป็นครั้งแรก"



  ทั้งหมดที่ว่าได้ค้นหาเจอ ก็รู้สึกว่าเป็นคำตอบที่น่าคิดและทำให้ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ แต่เราก็ยังอดสงสัยไม่ได้อยู่ดีว่าจริงๆมันมีกฎแบ่งใช้ หรือมีวิธีการในการจำหรือไม่
ครั้งนี้เราเลยได้ลองใช้ NINJAL ในการค้นหา โดยสังเกตดูจากลักษณะคำนามที่ทำหน้าที่กรรม
ว่ามีคำไหนที่นิยมใช้กับ 実施 บ้าง และคำไหนนิยมใช้กับ 開催 บ้าง




ผลออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ 
【○○を開催する】

○○会|会議|教室|大会|講座|イベント|○○展|会合|ゼミナール|シンポジウム|総会|祭り|ワークショップ|コンサート|フェア|ミーティング


【○○を実施する】
事業|調査|対策|訓練|活動|整備|施策|研究|研修|会|試験|検査|工事|制度|協力|措置|規制|評価|教育|政策|開発|指導|計画|援助|相談|キャンペーン|支援|サービス

จากตรงนี้ เราเลยขออนุญาตสรุปตามความเข้าใจของตัวเองว่า
     開催  ใช้กับงานต่างๆ หรือกิจกรรมที่มนุษย์สามารถเข้าร่วมได้
     実施  นิยมใช้กับสิ่งที่เป็นการกระทำของมนุษย์ หรือกิจกรรม (ย่อย) ที่เกิดขึ้นในงาน
ก็ไม่รู้ว่าจะถูกต้อง 100% เลยรึเปล่า เพื่อนๆมีความคิดเห็นยังไงลองมาแลกเปลี่ยนกันดูได้นะคะ

สุดท้ายนี้ก็จากไป ขอเพิ่มเติมอีกนิดนึงจากประสบการณ์จริงค่ะ
- ประโยคบางประโยคที่ไม่ต้องการใช้ภาษาแข็งๆมากนัก แนะนำให้ใช้ 行う (ซึ่งฟังดูซอฟต์กว่า) แทน 漢語動詞 ค่ะ
เช่น  内務書は、○○機関を選択し、バンコクで 実施された 行われた式典で賞金を出した。
     (กระทรวงมหาดไทยได้คัดเลือกองค์กร○○ และได้มอบเงินรางวัลให้ในพิธีที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ)
- ยิ่งไปกว่านั้น หากจะพูดในบทสนทนาที่สบายๆ ก็มีคนญี่ปุ่นแนะนำว่าใช้ する น่าจะให้ความรู้สึกที่เป็นภาษาพูดมากกว่า 行う อีกค่ะ (อ้างอิงจาก : http://okwave.jp/qa/q7438350.html)
เช่น  ではこれから商品開発についての会議をします。
     (ต่อจากนี้ดิฉันจะขอประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าค่ะ)



สำหรับบล็อกในวันนี้ ถึงจะเป็นเพียงแค่ก้าวเล็กๆ
แต่ก็รู้สึกว่าตัวเองได้เขยิบไปข้างหน้าอีกนิดของนิดของนิดนึงค่ะ ;;
อย่างน้อยต่อไปนี้ก็พอจินตนาการออกแล้วว่า ครั้งไหนที่ควรเลือกใช้ 開催 หรือ 実施 หรือ 行う ธรรมดาๆดี
ส่วนข้อดีอีกอันก็คือ เราได้ลองเข้าไปเล่นใน NINJAL มาแล้ว
มีประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาญี่ปุ่นมากๆเลยละค่ะ
อยากขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้แนะนำเว็บไซต์ดีๆมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ☆


ทุกคนคะ วันนี้เราคงต้องขอตัวไปก่อนแล้ว
ไว้พบกันใหม่ในบล็อกครั้งหน้านะคะ บ๊ายบายค่ะ~♪♪

7 เมษายน 2558

⑩ เกี่ยวกับ ★ ท.ทหารอดทน! ★(Part II)

สวัสดีค่ะทุกคน♪ วันนี้กลับมาพบกับทุกคนในหัวข้อคล้ายๆอันเดิมเลย นั่นก็คือ ศัพท์เกี่ยวกับทหารนั่นเองค่ะ :3

《 หมายเหตุ  ※   ช่วงแรกจะเป็นช่วง 内省 สำนึกความผิดจากประโยคความที่แล้วก่อน
ใครอยากอ่านช่วงแนะนำศัพท์ สามารถสไลด์เลื่อนลงไปอ่านข้างล่างได้เลยค่ะ >__< 》


ครั้งนี้เรากลับมา 内省 แบบฝึกหัดประโยคที่เราลองแต่งไปในคราวที่แล้ว พร้อมกับแนะนำศัพท์ที่ได้เรียนรู้ดูค่ะ
ถ้ายังจำกันได้ ครั้งที่แล้วเราได้แต่งประโยคพูดถึงคุณ J. ที่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารไว้อย่างนี้ค่ะ



หลังจากที่อัพเราก็ได้ลองเอาไปโพสต์ใน lang-8 เจ้าเก่าเพื่อดูว่าจะมีคนใจดีช่วยตรวจภาษาญี่ปุ่นกะเหรี่ยงๆ ของเราไหมหนอ

ปรากฏว่า ผลการตรวจออกมาดังนี้ค่ะ!《ขอขอบคุณคุณคนช่วยตรวจมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ m(_ _)m》
มีจุดที่คุณ D. คนญี่ปุ่นใจดีแนะนำมาหลายจุดเลย (พูดง่ายๆก็คือโดนแก้เต็มเลย~~ T_T)
ส่วนใหญ่โดนแก้เรื่องการเรียงประโยคว่าควรเอาคำนี้ขึ้นก่อน หรือไม่ก็ตัดคำที่ไม่จำเป็นออกไป
( ↑ จากตรงนี้ทำให้คิดได้ว่า ต่อไปนี้ต้องระวังให้มาก-กว่า-นี้ ! เวลาเขียนต้องคำนึงถึงผู้อ่านเป็นหลัก เขียนโดยเอื้อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด)
นอกจากนี้ ยังมีจุดบกพร่องที่เห็นได้ชัดเจน 2 จุด (คุณคนตรวจช่วยทำให้เห็นได้ชัดขึ้นโดยเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินให้เลย) นั่นคือ การใช้คำศัพท์ 除隊   退役  และ この2年間それまでの2年間 ค่ะ

① เราขออนุญาตยกจุดที่ 2 ขึ้นมาพูดก่อนนะคะ ตรงนี้เราเข้าใจและขอยอมรับข้อผิดพลาดแต่โดยดีเลย
「この2年間」เป็นการกล่าวถึง "ระยะเวลาในช่วงเวลาดังกล่าว" ให้ความรู้สึกเหมือนการพูดบรรยายทั่วไป
ขณะที่「それまでの2年間」มีคำว่า まで อยู่ จึงให้ความรู้สึกของ "ขอบเขตระยะเวลาจนถึง ณ จุดนั้น" และยิ่งใส่คำว่า それ (ซึ่ง ณ ที่นี้อ้างอิงถึงการพ้นกำหนดเข้ารับราชการทหาร) ด้วยแล้ว ก็ยิ่งเน้นว่า "จนกว่าจะช่วงเวลา 2 ปีที่เธอไปเข้ากรมทหารจะสิ้นสุดลง ฉันก็คงจะเหงาแน่เลย"

《内省 ①》
เรื่องนี้จะพูดว่าง่ายก็พูดก็ไม่เต็มปาก จะพูดว่ายากก็พูดฟันธงอย่างนั้นไปเลยไม่ได้อีก เพราะทั้งคำว่า この~ และ それまで~ ก็ถือเป็นภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานที่เจอกันมาตั้งแต่มินนะโนะริฮงโกะเล่มแรกเลย
จุดนี้เราคิดว่ามันเป็นรายละเอียดเล็กน้อยๆ ที่แม้จะแปลเป็นภาษาไทยออกมาแล้ว ความหมายก็แทบจะไม่ต่างกันเลย แต่พอมาลองอ่านอีกทีเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้ว ก็รู้สึกว่ามันมี ニュアンス ทางภาษาบางอย่างที่ให้ความรู้สึกต่างกันนิดนึง ต่อไปนี้ก็จะพยายามสังเกต และให้ความสำคัญกับจุดเล็กๆทางภาษาให้มากขึ้นค่ะ ^^


② มาถึงจุดผิดจุดที่ 1 กันบ้างค่ะ~ ตรงนี้เราอยากจะสารภาพตรงๆว่าไม่เข้าใจเลยว่าทำไมเราควรเปลี่ยนมาใช้คำนี้เหรอ (←ผิดแล้วยังงง ไม่ยอมรับผิดอีก 汗) เพราะ 除隊(じょたい)ก็แปลว่า discharge from the army - ปลดประจำการทหาร แล้วแถมยังเป็นคำตรงข้ามของ 入隊(にゅうたい)- เข้ารับราชการทหารซะด้วย

เราค้นความหมายของเจ้า 退役* ที่คุณเขาช่วยแก้ไขมาให้ก็แล้ว แต่ก็ยังไม่เก็ท (;__;)
สุดท้ายเลยต้องแบกหน้าไป SOS ถามอีกครั้งด้วยหัวใจที่แบกรับความรู้สึก 申し訳ない ไว้
อีกฝ่ายก็ใจดีค่ะ! เขาอธิบายว่า 



สรุปจากคอมเม้นท์คุณคนนี้ก็คือ คำว่า "ปลดประจำการทหาร" สามารถใช้ได้ 2 คำ คือทั้งคำว่า 除隊 และ 退役 ขึ้นอยู่กับระดับชั้น/ยศของนายทหารผู้นั้นค่ะ
除隊 ใช้กับนายทหารชั้นประทวน ส่วน 退役 จะใช้กับนายทหาร (ร้อย~) ที่มียศสูงกว่า

《内省 ②》
จุดนี้ต้องขอขอบคุณคุณ D.ผู้ชี้เก่งภาษาไทยถึงขนาดรู้ยศทหาร และได้แนะนำคำศัพท์ใหม่ รวมทั้งวิธีการใช้ให้กับเราในครั้งนี้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม จากที่เราได้ลองเสิร์ซเทียบจากข่าวคนดังเกาหลีปลดประจำการทหารแล้ว พบว่าเขานิยมใช้คำว่า 除隊 มากกว่า ซึ่งนั่นก็น่าจะมาจากเหตุผลที่คุณ D. ได้สอนไปนั่นเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม ขอเวลาเพิ่มอีกนิดนึงค่ะ! เราจะลองไปถามคนญี่ปุ่นคนอื่นดูเพื่อความแน่ใจอีกที แล้วยังไงจะมาอัพเดตให้ฟังในโพสต์ที่ ⑩ นี้อีกทีนะคะ



มาถึงช่วงสุดท้ายก่อนที่ลาจากกันไปค่ะ!
วันนี้จะมา 内省 ให้ฟังอย่างเดียวเลยก็ใช่เหตุ เราขอแนะนำคำศัพท์เพิ่มนิดนึงค่ะ นั่นคือคำว่า

 退役  
退役 คันจินี้      อ่านว่า  たいえき ◎  ค่ะ
อย่าเผลอไปอ่านผิดเป็น たいやく  ×  เชียว  (←เราเคยอ่านผิดมาแล้ว ^^;;)
มีความหมายว่า การปลดประจำการจากหน้าที่ โดยเฉพาะทหาร แล้วส่วนใหญ่ก็เป็นทหารประจำการ นายทหารชั้นสัญญาบัตร (มียศร้อยตรีขึ้นไป) ค่ะ
อาจจะเห็นคำนี้ติดอยู่กับคำศัพท์อื่นด้วย เช่น 退役軍隊 นายทหารปลดประจำการ หรือ อาจจะแปลว่าทหารผ่านศึกก็ได้ ตัวอย่างเช่น 友だちのお父さんは退役軍隊です。 พ่อของเพื่อนฉันเป็นทหารที่ปลดประจำการ/เกษียณแล้ว

ส่วนอีกคำคือคำว่า...
 退職  
退職 อ่านว่า たいしょく
ใช้กับคำช่วย を เช่น K.さんは60歳でその会社を退職しました。คุณ K.เกษียณตัวจากบริษัทนั้นตอนอายุ 60 ค่ะ
มีความหมายว่า ปลดเกษียณค่ะ ความหมายแทบจะเหมือนกับคำข้างบนเลย ต่างกันที่ 退職 มีความหมายกว้างกว่า เพราะใช้พูดถึงอาชีพได้หลากหลายกว่า (ขณะที่คำข้างบนจะจำกัดแค่ทหารเท่านั้น)
อย่างไรก็ตาม เมื่อสมาชิกกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นปลดประจำการ/เกษียณ เราจะใช้ว่า 退職自衛官(たいしょくじえいかん)ค่ะ

ส่วนเงินบำเหน็จตอนเกษียณอายุนั้น เราจะเรียกว่า 退職金(たいしょくきん)ค่ะ
ตัวอย่างประโยคเช่น 日本の公務員の退職金は平均1187.2万円だそうです。ได้ยินมาว่าข้าราชการญี่ปุ่นจะได้เงินบำเหน็จเฉลี่ยประมาณ 11,872,000 เยนค่ะ


หมายเหตุ อ้างอิงจากข้าราชการที่เกษียณอายุในปีงบประมาณ 2013 จำนวน 34,527 คน

(国家公務員の退職金、平均でいくら? http://allabout.co.jp/gm/gc/450623/)



เอาละค่ะ~~ สำหรับวันนี้ เราก็ขอลาไปแต่เพียงเท่านี้
พบกันใหม่คราวหน้านะคะ สวัสดีค่ะ (*^^*)