สวัสดีค่ะทุกคน~!(≧∇≦)ก่อนอื่นวันนี้ต้องขอสวัสดีปีใหม่จีนทุกคนกันก่อนเลย~~☆
เป็นอย่างไงบ้างคะ ปีนี้ได้อั่งเปากันถ้วนหน้า ได้ทานหมูเห็ดเป็ดไก่กันจนอิ่มท้องไปเลยรึเปล่าเอ่ยหวังว่าทุกคนจะมีช่วงเวลาแสนสุขในช่วงวันปีใหม่ (ตามธรรมเนียมจีน & เกาหลี) นี้นะคะ
ว่าแล้ว เรามาเข้าเรื่อง 漢語動詞 กันเลยดีกว่าค่ะ!
กลุ่มคำศัพท์ที่นำมาฝากกันในวันนี้ คือ คำที่มีความหมายว่า "แก้ไข" ค่ะ \^^/
ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ตัวเราเองคนเดียวรึเปล่านะคะ..
แต่เวลาที่จะพูดถึงการแก้ไข เช่น เวลาที่อยากจะบอกว่า "ขอบคุณที่ช่วยตรวจ/แก้ไข (งาน) ให้นะคะ" เนี่ย
ปกติจะใช้แต่ V. 直すหรือไม่ก็ V. チェックする ตลอดเลย (เศร้าเนอะ..ㅠㅠ)
...พอใช้แต่คำกริยาแบบนั้น ก็เริ่มจะเบื่อค่ะ ประกอบกับรู้สึกว่า 'ไม่ได้นะ! ฉันต้องเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆเพิ่มให้สมกับระยะเวลาเรียนภาษาญี่ปุ่นของตัวเองซักหน่อยแล้ว!!' ก็เลยถือกำเนิดเป็นบล็อกของวันนี้ค่ะ彡★
พอลองหาดูในอินเตอร์เน็ตก็พบว่ามีคนสงสัยเหมือนเราเลย ..เหมือนอย่างของคุณคนนี้ค่ะ
![]() |
《อ้างอิงจาก http://lang-8.com/268121/journals/1599500》← สามารถเข้าไปชมกันได้นะคะ :) |
《 ※ หมายเหตุ ※ จากข้อสงสัยของคุณคนข้างบน ↑ 》
ในกรณีนี้ (= correct) คำว่า コレクション ไม่่สามารถใช้ได้ค่ะ
เพราะใช้ภาษาญี่ปุ่น コレクション = collection แปลว่า "การสะสม" ค่ะ
เลยขออนุญาตไม่พูดถึงในลำดับต่อไปนะคะ
ในการค้นคว้าข้อมูล ผู้เขียนได้ลองใช้บริการ thesaurus.weblio.jp/content/
โดยค้นหา 類義語 หรือคำศัพท์ที่คล้ายๆกันดูค่ะ ปรากฏว่าในภาษาญี่ปุ่นมีศัพท์ที่มีความหมายเข้าข่ายคำว่า "แก้ไข" เยอะแยะเต็มไปหมดเลย ↓(汗 ^^;;)
![]() |
《 จาก: thesaurus.weblio.jp/content/訂正 》 |
ครั้งนี้ได้เลือกคำที่คิดว่าเพื่อนๆน่าจะสามารถนำไปใช้ได้มา 10 คำค่ะ♪
1. 修正スル(しゅうせいスル)แก้ไขส่วนที่ผิดพลาด หรือยังมีอะไรตกหล่นให้ถูกต้อง
-- คำนี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง เลยมีคำนามหลายตัวที่สามารถใช้กับกริยานี้ได้ค่ะ เช่น
原稿 (ร่างงานเขียน), 論文 (วิทยานิพนธ์), データ (ข้อมูล), 計画 (แผนการ)
-- คำนี้มีความหมายค่อนข้างกว้าง เลยมีคำนามหลายตัวที่สามารถใช้กับกริยานี้ได้ค่ะ เช่น
原稿 (ร่างงานเขียน), 論文 (วิทยานิพนธ์), データ (ข้อมูล), 計画 (แผนการ)
2. 是正スル(ぜせいスル)แก้ไขจุดที่ผิดให้กลายเป็นถูก แต่คำนี้จะใช้กับประโยคแข็งๆค่ะ
เช่น 不均衡 (ふきんこう) を是正する。(แก้ไขความไม่สมดุล)
เพราะฉะนั้น หากใช้คำนี้เวลาแก้ไวยากรณ์ หรือแก้งานก็จะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ ⇒ ไม่นิยมใช้ค่ะ
เช่น 不均衡 (ふきんこう) を是正する。(แก้ไขความไม่สมดุล)
เพราะฉะนั้น หากใช้คำนี้เวลาแก้ไวยากรณ์ หรือแก้งานก็จะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ ⇒ ไม่นิยมใช้ค่ะ
3. 訂正スル(ていせいスル)แก้ไขส่วนที่ผิดในประโยค ไม่ว่าจะเป็นคำพูด ตัวอักษร หรือประโยคก็ตาม เช่น
・つづりが間違っていれば訂正してください。(หากสะกดผิด ช่วยกรุณาแก้ไขให้ด้วยครับ/ค่ะ)
《 ↑ ตัวอย่างประโยคจาก ウィズダム英和・和英辞典》
・และนอกจากนี้ ยังสามารถใช้กับคำนาม 誤り (ข้อผิดพลาด), 発言 (สิ่งที่พูด), 誤植 (ごしょく / จุดที่พิมพ์ผิด) ได้อีกด้วย
4. 添削スル(てんさくスル)ตรวจ, แก้ไข โดยมีความหมายของการแก้ไขผลงานทางวรรณกรรมหรือตรวจคำตอบในข้อสอบ (นอกจากนี้ ยังใช้กับการที่อาจารย์แก้เวลาเขียนพู่กันจีน (書道) ด้วยพู่กันสีแดงๆส้มๆได้อีกด้วยค่ะ)
《 ↑ ตัวอย่างประโยคจาก ウィズダム英和・和英辞典》
・และนอกจากนี้ ยังสามารถใช้กับคำนาม 誤り (ข้อผิดพลาด), 発言 (สิ่งที่พูด), 誤植 (ごしょく / จุดที่พิมพ์ผิด) ได้อีกด้วย
4. 添削スル(てんさくスル)ตรวจ, แก้ไข โดยมีความหมายของการแก้ไขผลงานทางวรรณกรรมหรือตรวจคำตอบในข้อสอบ (นอกจากนี้ ยังใช้กับการที่อาจารย์แก้เวลาเขียนพู่กันจีน (書道) ด้วยพู่กันสีแดงๆส้มๆได้อีกด้วยค่ะ)
-- ดังนั้น เราจึงมักเห็นการใช้กริยาตัวนี้กับคำนาม 作文 (เรียงความ) และเป็นการแก้ไขโดยอาจารย์
เช่น 先生に作文を添削していただいた。(ได้รับการแก้เรียงความจากอาจารย์)
เช่น 先生に作文を添削していただいた。(ได้รับการแก้เรียงความจากอาจารย์)
5. 改正スル(かいせいスル)แก้ไขกฎหมาย หรือระบบ
-- ใช้กับคำนามที่เกี่ยวกับกฎ เช่น 規則 (กฎระเบียบ), 法律 (กฎหมาย), 憲法 (รัฐธรรมนูญ)
6. 改訂スル(かいていスル)แก้ไข/ปรับปรุงเนื้อหางานเขียนให้ดีขึ้น
เช่น 教科書を改訂する。(ปรับปรุงตำราเรียน)
7. 改良スル(かいりょうスル)แก้ไขในเชิง "ทำให้ดีขึ้น" เช่น พัฒนาสิ่งของ/ผลิตภัณฑ์ให้ (มีประสิทธิภาพ) ดีมากขึ้น
เช่น 教科書を改訂する。(ปรับปรุงตำราเรียน)
7. 改良スル(かいりょうスル)แก้ไขในเชิง "ทำให้ดีขึ้น" เช่น พัฒนาสิ่งของ/ผลิตภัณฑ์ให้ (มีประสิทธิภาพ) ดีมากขึ้น
8. 改善スル(かいぜんスル) ทำให้ดีขึ้น เช่น 外交関係を改善する。(พัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตให้ดีขึ้น)
※ ※ ข้อ 7. กับข้อ 8. มีความหมายคล้ายกันมาก
เพราะไม่ว่าจะเป็นคันจิ 良 หรือ 善 ก็มีความหมายว่า ดี เหมือนกันใช่มั๊ยล่ะคะ แต่สองคำนี้จะต่างกันก็ตรงที่
改良スル ⇒ ใช้กับสิ่งที่เป็น รูปธรรม
改善スル ⇒ ใช้กับสิ่งที่เป็น นามธรรม มากกว่าค่ะ
※ ※ ข้อ 7. กับข้อ 8. มีความหมายคล้ายกันมาก
เพราะไม่ว่าจะเป็นคันจิ 良 หรือ 善 ก็มีความหมายว่า ดี เหมือนกันใช่มั๊ยล่ะคะ แต่สองคำนี้จะต่างกันก็ตรงที่
改良スル ⇒ ใช้กับสิ่งที่เป็น รูปธรรม
改善スル ⇒ ใช้กับสิ่งที่เป็น นามธรรม มากกว่าค่ะ
9. 加筆スル(かひつスル)แก้ไขประโยค หรือภาพวาด โดยการแก้ หรือเติมแต่งอะไรเพิ่ม
▶ ที่น่าสนใจคือ มีการนำคำกริยา 2 คำมารวมกันเป็นคำนาม "加筆訂正" ด้วยค่ะ
มีความหมายว่า "การแก้ไขจุดที่ผิดพลาดของประโยคหรือภาพ"
▶ ที่น่าสนใจคือ มีการนำคำกริยา 2 คำมารวมกันเป็นคำนาม "加筆訂正" ด้วยค่ะ
มีความหมายว่า "การแก้ไขจุดที่ผิดพลาดของประโยคหรือภาพ"
10. 矯正スル(きょうせいスル)แก้ไขจากที่ไม่ดี → ดี
-- แต่จะใช้กับคำนาม เช่น 悪い癖 (นิสัยเสีย) และ 非行少年 (ひこうしょうねん / เยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย) รวมทั้ง 歯列 (しれつ / แถวของฟัน) ซึ่งหมายถึงการใส่เหล็กดัดฟันค่ะ o(^+++^)o
คำว่า "แก้ไข" ในภาษาญี่ปุ่นนี่มีเยอะจนเลือกไม่ใช้กันไม่หวัดไม่ไหวเลยเนอะ~
สำหรับตัวผู้เขียนเอง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนครั้งน้อยเลยคือ หาข้อสรุปเรื่องที่ตัวเองสงสัยได้แล้วล่ะค่ะ
ถ้าอยากบอกว่า "ขอบคุณที่ช่วยตรวจ/แก้ไขงานให้" ก็สามารถใช้ได้ทั้งคำว่า
แล้วเพื่อนๆละคะ? พอจะมีความมั่นใจในการใช้กันมากขึ้นรึยังเอ่ย~?
หวังว่าต่อจากนี้ทุกคนน่าจะพอหยิบเอาคำศัพท์คำอื่นนอกจาก 直す กับ チェックする มาใช้ได้
โดยไม่ต้องโดน 訂正 กันนะคะ (>_<)
-- แต่จะใช้กับคำนาม เช่น 悪い癖 (นิสัยเสีย) และ 非行少年 (ひこうしょうねん / เยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย) รวมทั้ง 歯列 (しれつ / แถวของฟัน) ซึ่งหมายถึงการใส่เหล็กดัดฟันค่ะ o(^+++^)o
คำว่า "แก้ไข" ในภาษาญี่ปุ่นนี่มีเยอะจนเลือกไม่ใช้กันไม่หวัดไม่ไหวเลยเนอะ~
สำหรับตัวผู้เขียนเอง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนครั้งน้อยเลยคือ หาข้อสรุปเรื่องที่ตัวเองสงสัยได้แล้วล่ะค่ะ
ถ้าอยากบอกว่า "ขอบคุณที่ช่วยตรวจ/แก้ไขงานให้" ก็สามารถใช้ได้ทั้งคำว่า
『修正してくれてありがとうございます。』
『添削してくれてありがとうございます。』
『訂正してくれてありがとうございます。』เลย
แล้วเพื่อนๆละคะ? พอจะมีความมั่นใจในการใช้กันมากขึ้นรึยังเอ่ย~?
หวังว่าต่อจากนี้ทุกคนน่าจะพอหยิบเอาคำศัพท์คำอื่นนอกจาก 直す กับ チェックする มาใช้ได้
โดยไม่ต้องโดน 訂正 กันนะคะ (>_<)
วันนี้ต้องขอลาไปก่อน พบกันใหม่ครั้งหน้านะคะ สวัสดีค่ะ~~~♪